ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านทันตสุขภาพกับการใช้บริการทางทันตกรรม ของผู้สูงอายุในบ้านศิลา หมู่ที่1 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, บริการทันตกรรม, ความเชื่อ, ทันตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ใช้การสำรวจ (Survey study) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านทันตสุขภาพกับการใช้บริการทางทันตกรรม ของผู้สูงอายุในบ้านศิลา หมู่ที่1 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 112 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี อายุเฉลี่ย 70.93 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.8 มีฟันธรรมชาติในช่องปากและไม่ได้ใส่ฟันเทียม ร้อยละ 72.3 ส่วนใหญ่ไปใช้บริการครั้งสุดท้ายนานมากกว่า 1 ปี ร้อยละ 53.6 และได้ไปใช้บริการทันตกรรมทุกครั้งเมื่อมีความต้องการ ร้อยละ 82.1 ผู้สูงอายุสามารถไปใช้บริการด้านสุขภาพด้วยตนเองร้อยละ 59.8
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเชื่อด้านทันตสุขภาพกับการใช้บริการทางทันตกรรม ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปาก การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค ความเชื่อมั่นต่อการบริการของทันตแพทย์ ความกลัวการรับบริการทันตกรรม และความเชื่อมั่นตนเองที่จะไปรับบริการทันตกรรม พบว่า ความเชื่อด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการไปใช้บริการทางทันตกรรมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ5
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากให้โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ พบว่า การรับรู้และความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตัวทางด้านทันตสุขภาพและการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และกลุ่มทดลองมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์และสภาวะเหงือกอักเสบดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
References
บทความวิชาการ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. [ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ 11 มีนาคม 2562] จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. [ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ 11 มีนาคม 2562] จากhttp://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=2423&filename=stat
ธิดา รัตนวิไลศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล เมืองบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาเอกการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์] 2562. [อ้างเมื่อ 12 มีนาคม 2562] จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/pb/0033/01title-illustration.pdf
ณัฐพนธ์ สมสวาท. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการบริการทันตกรรมของ ผู้สูงอายุในเขตตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข) บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.[ออนไลน์] 2562. [อ้างเมื่อ 12 มีนาคม 2562] จากhttp://www.western.ac.th/media/attachments/2017/10/24/r2.pdf
กนกอร โพธิ์ศรี และ จีรานันท์ วิทยาไพโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมารับบริการทาง
ทันตกรรมของผู้สูงอายุ 60-74 ปี ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น,วารสารทันตาภิบาล 2561;29(2):95-96.
วริศา พานิชเกรียงไกร และคณะ. การใช้บริการทันตกรรมของประชาชนไทย: ผลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(2):170-181
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล