ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพด้วยกิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภศิลป์ ดีรักษา เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลท่าคันโท กลุ่มวิจัยการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชฎา ฉายจิต อาจารย์ ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์ รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ฐานการเรียนรู้, เบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพด้วยกิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และใช้วิธีสุ่มแบบเป็นระบบ เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 40 คน ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพด้วยรูปแบบการแบ่งฐานการเรียนรู้ ร่วมกับกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและสุขภาพช่องปาก และกิจกรรมสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ  และประเมินสภาวะอนามัยช่องปากด้วยการตรวจดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีโรคเหงือกอักเสบ ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent t-test) พร้อมช่วงค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และค่า P-value<0.05

                   ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) และมีค่าเฉลี่ยของคราบจุลินทรีย์และดัชนีโรคเหงือกอักเสบลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001)

                   โดยสรุป โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพด้วยกิจกรรมฐานการเรียนรู้ มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพที่เหมาะสม และมีสภาวะอนามัยช่องปากที่ดีขึ้น

References

World Health Organization (WHO). Global report on diabetes. Print in France. 2016.

International Diabetes Federation (IDF). Diabetes Atlas, Seventh Edition. Karakas Print. 2015.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคสำคัญ ปี พ.ศ. 2537-2558. 2559; 1-7.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 4 ตุลาคม 2561] . จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1

วัชราภรณ์ สอนเสน, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา และ เสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. ว.ทันต.ขอนแก่น. 2553; (13)2: 132-46.

Cinar AB. One for AllTM: Hoe to Tackle with Diabetes, Obesity and Peridontal Diseases. Dental Institute: University of Copenhagen. 2010.

Kapp JM, Boren SA, Yun S, LeMaster J. Diabetes and tooth loss in a national sample of dentate adults reporting annual dental visits. Prev Chronic Dis. 2007; 4(3): A59.

Ashish A, Sunil RP. Oral health behavior and HbA1c in Indian adults with type 2 diabetes. Tournal of Oral Science. 2012; 54:4,293-301.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกิจการพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2561.

Lemeshow S, Levy PS. Sampling of Populations: Methods and Applications. New York, US: John Wiley & Sons Inc, 1999, 3rd edn.

Deeraksa S, Leangubon J, Thaewpia S. The Effectiveness of Oral Health Program by Learning with A Group Discussion for Oral Health Behaviors of Patients with Diabetes Mellitus in The Sanitarium Thakhuntho Sub District, Thakhuntho District, Kalasin Province. Thai Dental Nurse Journal 2014;25(2): 45-58

Silness J, Loe H. Periodontal disease in pregnancy 3. Response to local treatment. Acta odonto scan [serial online] 1967;24:747-9.

Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1984.

อนิศรา พลยูง. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

อิสริยาภรณ์ สุรสีหเสนา. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวานหมู่บ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hill; 1986.

Nishihara U, Tanabe N, Nakamura T, Okada Y, Nishida T, Akihara S. A periodontal disease care program for patients with type2 diabetes: A randomized controlled trial. Gen Fam Med.2017; 18:249-57.

Lee HK, Choi SH, Won KC, Merchant AT, Song KB, Jeong SH, et al. The Effect of Intensive Oral Hygiene care on Gingivitis and Periodontal Destruction in Type 2 Diabetic Patients. Yonsei Med J.2009; 50(4): 529-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)