ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการ ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นฤมล กิ่งแก้ว วิทยาจารย์ปฏิบัติการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ วิทยาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อนุสรณ์ บุญทรง Lecturer, professonal level, Sirindhorn College of Public Health, Ubon Ratchathani Province
  • อรรณพ สนธิไชย Lecturer, senior professional level Sirindhorn College of Public Health, Ubon Ratchathani Province

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, นักวิชาการสาธารณสุข, มาตรฐานในการปฏิบัติงานสาธารณสุข, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

         นักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการที่มีทักษะในการปฏิบัติงานไม่เพียงพออาจส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้ได้มาตรฐานตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการ ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดอุบลราชธานีอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 73 ราย โดยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2561 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Fisher’s Exact Test

         ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.1 อายุเฉลี่ย 31.3 ± 5.0 ปีเงินเดือนเฉลี่ย 20,823.20 ± 4,432.90 บาทต่อเดือน ร้อยละ 21.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากการศึกษาสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล พบว่า ร้อยละ 98.6 ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 97.3 ปฏิบัติงานถูกต้องตามระเบียบ วินัยของข้าราชการ และร้อยละ 94.5 ปฏิบัติงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนการศึกษาสมรรถนะที่สังเกตได้ พบว่า ร้อยละ 97.3 ทำงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และร้อยละ 90.4 เห็นด้วยกับการที่องค์กรมีการกำหนดบทบาทผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ทักษะในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น นักวิชาการสาธารณสุขควรเพิ่มสมรรถนะที่สังเกตได้ ได้แก่ ทักษะในการทำงานเพื่อยกระดับมาตรฐานของตนเองในการปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน

 

References

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ [อินเทอร์เนต]. รายชื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ศูนย์สุขภาพชุมชน และ CMU ทุกจังหวัด. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฎาคม 11]. เข้าถึงได้จาก: http://team.sko.moph.go.th/phi/report/view/?repid-link=40&cat-link=47

ราชกิจจานุเบกษา. ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน [โมโนกราฟจากอินเทอร์เนต]. เล่มที่ 136 หน้า24-25;2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฏาคม 11] เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/041/T_0021.PDF

Spencer LM, Spencer SM. Competence at work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons, Inc.;1993.

งานยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานอัตรากำลังทางด้านสาธารณสุข. พ.ศ.2561. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.อุบลราชธานี;2561.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร. ศรีอนันต์การพิมพ์;2549.

McClelland DC. Testing for competency rather than for “intelligence”. Am Phychol. 1973;17(7):57-83.

Tavakol M, Dennick R. Making sense of chronbach's alpha. Int J Med Educ.2011;2:53-5.

วิลาวัลย์ ชาดา, สงครามชัย ลีทองดี, อลงกต มหาวงศ์. ความคาดหวังของประชาชนต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 7. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 14; มหาวิทยาลัยมหาสารคาม:428-437.

ก.พ.[อินเทอร์เนต]. มาตรฐานกำหนดตำแหน่งสายงานประเภทวิชาการ. [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 13]. เข้าถึงได้จาก: http://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf

ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนา เกิดม่วง และ สุรินธร กลัมพากร. สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. NJMPH 2559; 26(1).40-51.

โสภณ เมฑธน. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข;2559.

Iemrod K, Chaowakeeratipong T, Mejang S. A development of the indicators for public health technical officers competencies in district health promoting hospitals. Public Health Burapha Univ J 2554;6(2).9-12.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559-2560 (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง). [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฏาคม 11] เข้าถึงได้จาก:http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=13486&tid=32&gid=1-020

WHO. Who remains firmly committed to the principles set out in the preamble to the constitution. [cited 2020 Mar 12]. Available from: https://www.who.int/about/who-we-are/constitution

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)