ประสิทธิภาพการแปรงฟันภายหลังการให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่ม ในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รพีพรรณ ปุ้งมา หลักสูตรทันตสาธารณสุข​ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร​ จังหวัดขอนแก่น
  • อันชนา ปุณขันธ์ Public Health Technical Officer (Dental Public Health), Practitioner Level, Donchan Hospital, Donchan Distric, Kalasin
  • พิมพัชฌา วงษ์พรม นักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) โรงพยาบาลสามชัย อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การให้ทันตสุขศึกษา, ความบกพร่องทางสติปัญญา, เด็ก, ประสิทธิภาพการแปรงฟัน

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการแปรงฟันก่อนและหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ นาน 3 สัปดาห์ ในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย จำนวน 32 คน อายุ 8-12 ปี โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ การให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่มโดยใช้วีดิทัศน์นิทานประกอบการสอน เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ และตรวจวัดประสิทธิภาพการแปรงฟันโดยตรวจคราบจุลินทรีย์ (Plaque Index) ก่อนและหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ซึ่งได้รับการปรับมาตรฐานการตรวจกับทันตแพทย์ (Kappa statistics; K = 0.90)   โดยใช้แบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ตามเกณฑ์การตรวจของ Quigley-Hein ปี 1962   วิเคราะห์ประสิทธิภาพการแปรงฟันก่อนและหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยใช้สถิติ Paried T-Test

ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.4 มีระดับประสิทธิภาพการแปรงฟันก่อนการให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่มอยู่ในระดับดี (ค่าคราบจุลินทรีย์ 1.26-2.5) ร้อยละ 40.6 อยู่ในระดับพอใช้ (ค่าคราบจุลินทรีย์ 2.51-3.75) และภายหลังการให้ทันตสุขศึกษาพบว่า กุล่มตัวอย่างมีระดับประสิทธิภาพการแปรงฟันอยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78.1 และประสิทธิภาพการแปรงฟันอยู่ในระดับดีมาก (ค่าคราบจุลินทรีย์ 0-1.25)  ร้อยละ 21.9   การศึกษาครั้งนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ภายหลังการให้ทันตสุขศึกษา (1.4 (SD=0.16)) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ก่อนการให้ทันตสุขศึกษา (2.5 (SD=0.19))   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < 0.001, 95%CI = 1.02-1.17)  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการให้ทันตสุขศึกษาแบบกลุ่มโดยใช้การเล่านิทานในรูปแบบวีดีโอ ช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สามารถแปรงฟันเพื่อลดค่าคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           

References

เสาวลักษณ์ แก้วหิรัญ, แสงเดือน ยอดอัญมณีวงศ์, รณสิงห์ รือเรือง และดรณี จันทร์หล้า. การศึกษาและการพัฒนาระบบคัดกรองเด็กที่มีพัฒนาการสติปัญญาล่าช้าในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2556 ก.ค.-ธ.ค.:44(2):16-26.

กุลนาถ มากบุญ, พุทธภูมิ วังศรีมงคล, ปริวรรต เสียงจันทร์, ภูติส อ่วมน้อย และภาวัต ฮามจันทร์.สภาวะช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของเด็กพิเศษชั้นอนุบาลโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูลจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารทันตาภิบาล 2562 ม.ค.-มิ.ย.:30(1):1-14.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.ม.ป.ท.: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

มาลี อรุณากูร. การจัดการและการรักษาทางทันตกรรมในเด็กพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพ: บริษัทพี.เอ. ลีฟวิ่งจำกัด; 2555.

Wiboon Weraarchakul, Willawan Weraarchakul and Onauma Angwarawong. Oral Health Status and Treatment Need of Disabled Children in Rehabilitation School in Khon Kaen, Thailand. Srinagarind Medical Journal. 2005 January-March:20(1):17-23.

ณัชพร ศุภสมุทร์, สุจิตรา สุขเกษม, ปัทมา พนมวัน ณ อยุธยา, จุรีรัตน์ จันทร์เนตร. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 10 ตุลาคม 2559] จากhttp://www.rajanukul.go.th/new/_admin/download/D0000071.pdf

พรนภา ปรัชญาอาภรณ์. การส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนวัดกระจับพินิจ เขตธนบุรี.2554[ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559] จาก http://203.155.220.238/csc/attachments/article/186/5408_0603_020.pdf

วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี และ ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. ประสิทธิผลของการสอนผู้ปกครองให้ฝึกปฏิบัติแปรงฟันเด็กอายุ 9-18 เดือน ต่ออัตราผุ ถอน อุด ที่เพิ่มขึ้นใน 1 ปี. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2553 เม.ย.-มิ.ย.:60(2):17-23.

ศิรดา ชูเดช, สิรินทิพย์ สิงห์สามารถ, และกิตติโชติ วรโชติกำจร. นวัตกรรมการย้อมคราบจุลินทรีย์ทางทันตกรรม.[ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560] จากhttps://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=535.

Mclarenn Malluy.++ยักษ์++. [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 24 ตุลาคม 2559] จาก https://www.youtube.com/watch?v=alflW2bxcYs.

Quigley G and Hein JW. Comparative Clean-sing Efficacy of Manual and Power Brushing. Journal of American Dentistry Association . 1962;1(2):101-105.

ปริวรรต สมนึก. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวิดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”.วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 2558:11(1):4-17.

สาวิตรี รุญเจริญ และ เบญจมาภรณ์ ช้อยเครือ. รายงานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้ด้านความจำของเด็กออทิสติกตามความเห็นของครูผู้สอน. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)