ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เทพไทย โชติชัย วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 720 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลความชุกและพฤติกรรมการดื่มด้วยสถิติพรรณนา และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก

          ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเคยดื่มและยังคงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 43.89 อายุน้อยที่สุดที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 10 ปี ในโมเดลสุดท้ายของการวิเคราะห์พบ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การไม่มีเพื่อนสนิท (ORad j=14.94; 95% CI=2.27-98.28) ความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับต่ำ (ORadj=8.18; 95% CI=2.99-22.33) ทัศนคติเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ถูกต้อง (ORadj=7.96; 95% CI=3.93-13.39) การสูบบุหรี่ (ORadj=5.83; 95% CI=3.72-9.14) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ (ORadj=5.34; 95% CI=1.65-17.32) และการไม่มีกิจกรรมกับเพื่อนๆ หลังเลิกเรียน (ORadj=2.68; 95% CI=1.67-4.31) ตามลำดับ

References

1.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รายจังหวัด.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2556.
2.สำนักงานสถิติแห่งชาติ.บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557. กลุ่มสถิติประชากรและสังคม สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2557.
3.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติประชากรและเคหะ. [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2559]จากhttps://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/population.html.
4.Cochran, W.G. Sampling Techniques. 3rd ed. New York : John Wiley and Sons Inc; 1977.
5.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. สารสนเทศทางการศึกษา. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 18 พฤศจิกายนพ.ศ.2559]จากhttps://School%20Information%20System%20%20%.html.
6.ชฏิล สมรภูมิ. ปัจจัยเชิงสาเหตุและแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนวัยรุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2544.
7.Hussong AM, Curran PJ, Moffitt TE, Caspi A., Carrig MM. Substance abuse hinders desistance in young adults’ antisocial behavior. Dev Psychopathol2008;16:1029-46.
8.Feldstein S., Miller W. Substance use and risk-taking among adolescents. J Ment Health2006;15:633-43.
9.Nualnong W., Paul RW, Andrew D., Anthony HW. The influence of protective and riskfactors in individual, peer and school domain on Thai adolescents’ alcohol and illicit drug use: A survey. Addict Behav 2014;39:1447-51.
10.คุณากร ปาปะขา. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
11.Joanna M., Anna K., Dorota Z., Anna D., Kamil W. External evaluation of the school and academic achievements in relation to alcohol drinking and delinquent behaviours among secondary school students. Alcoholism & Drug Addiction. 2016;29(3):183–208.
12.Rosie G., Andy R. Young people’s alcohol consumption and its relationship to other outcomes and behavior, 2010, Research report DFE-RR005, Department for Education, National Centre for Social Research, UK. [cited 2016 Nov 6]. Available from:www.gov.uk/government/publications/young-peoples-alcohol-consumption-and-its-relationship-to-other-outcomes-and-behaviour.
13.Agatha K., Paul B. Qualitative Research in Uganda on Knowledge, Attitudes andPractices Concerning Alcohol, 2016. Research report, Uganda. [cited 2016 Nov 6]. Available from: www.k4health.org/sites/default/files/Alcohol% 20Study%20Report%20FINAL%20March%2013th.pdf
14.Stephens AN, Bishop CA, Liu S, Fitzharris M. Monash Alcohol consumption patterns and attitudes toward drink-drive behaviours and road safety enforcement strategies. Accid Anal Prev;98(2):241–51.
15.นพดล กมลกลาง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555;7(4):156-162.
16.อานนท์ อาภาภิรม. สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์; 2525.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)