การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา
คำสำคัญ:
ประถมศึกษา, การประเมิน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่่องปากบทคัดย่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา และ 2) ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 500 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา
ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก การประเมินค่าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก การสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรม และการสนับสนุนจากสังคม โมเดลการวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2/df = 2.06, RMSEA = 0.046, SRMR = 0.048) และแบบวัดมีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์2) การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า นักเรียนมีรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากครบทั้ง 6 ประกอบ ร้อยละ14.84 เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก พบว่า องค์ประกอบที่นักเรียนมีความรอบรู้มากที่สุดคือ การสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรม รองลงมาคือ การสนับสนุนจากสังคมส่วนองค์ประกอบที่นักเรียนมีความบกพร่องมากที่สุดคือ ความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก รองลงมาคือ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากดังนั้นทันตบุคลากรควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากให้กับนักเรียน และนำแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก
References
2.อนุพงษ์ สอดสี, ภาสกร ศรีไทย และธีราภรณ์ พนาวัลย์. ความฉลาดทางสุขภาพช่องปากและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในความร่วมมือกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารคณะพลศึกษา 2560; 20(2): 150-158.
3.Ueno, M., Takeuchi, S., Oshiro, A., & Kawaguchi, Y. Relationship between oral health literacy and oral health behaviors and clinical status in Japanese adults. Journal of Dental Sciences2013; 8: 170-176.
4.American Dental Association. Health literacy in dentistry strategic action plan 2010-2015. United States: American Dental Association; 2010.
5. Horowitz, A. M., &Kleinman, D. V. Oral Health Literacy: The New Imperative to Better Oral Health. Dental Clinics of North America 2008; 52(2): 333-344. doi:https://doi.org/10.1016/j.cden.2007.12.001
6. Dickson-Swift, V., Kenny, A., Farmer, J., Gussy, M., &Larkins, S. Measuring oral health literacy: a scoping review of existing tools. BMC oral health2014; 14(1): 148.
7. ศิริภา คงศรี และสดใส ศรีสะอาด. องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2561; 29(2): 55-68.
8. สุภาณี วงษ์สิงห์, สมบูรณ์ จิระสถิตย์, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ และภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร.ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาฤกษ์สมบูรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2560; 32(1): 132-137.
9. Lindeman, R.H., Merenda, P.F. & Gold, R. Z. Introduction to bivariate and multivariate analysis.Glenview, IL, Scott:Foresman and company; 1980.
10. อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. [ออนไลน์] 2560. [อ้างเมื่อ 9 พ.ย. 2561] จาก https://bsris.swu.ac.th/upload/268335.pdf.
11. Jones, K., Parker, E., Mills, H., Brennan, D., & Jamieson, L. M. Development and psychometric validation of a Health Literacy in Dentistry scale (HeLD). Community Dental Health 2014; 31(1): 37-43.
12. Sorensen, K. Health literacy: a neglected European public health disparity. [Doctoral dissertation]. Maastricht: Maastricht University; 2013.
13. World Health Organization. Health Promotion. WHO Publications; 1998.
14. Hu, L.-t., &Bentler, P. M. Fit Indices in Covariance Structure Modeling: Sensitivity to Underparameterized Model Misspecification. Psychological Methods 1998; 3(4): 424-453.
15. Mueller, R.O. Confirmatory factor analysis. In Basic principles of structural equation modeling: An introduction to LISREL and EQS. New York: Springer-Verlag; 1996.
16. เสรี ชัดแช้ม. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา2547; 2(1): 15-42.
17. Harrington, K. F. &Valerio, M. A. A conceptual model of verbal exchange health literacy.Patient Education and Counseling 2014; (94): 403–410.
18. Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine2008; (67): 2072–2078.
19. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล