ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดคอและหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ 0815450015

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการป้องกันอาการปวดคอและหลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้  ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดคอและหลังและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้  ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดคอและหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น  ประชากรที่ศึกษาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2561 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ในการป้องกันอาการปวดคอและหลังอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ66.7 รองลงมาอยู่ในระดับดี และระดับค่อนข้างดี ร้อยละ24.1 และ 5.6 ตามลำดับ กลุ่มที่ศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ถูกต้องในการป้องกันอาการปวดคอและหลังอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 48.1 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง และระดับน้อย  ร้อยละ38.9 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ  กลุ่มที่ศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันอาการปวดคอและหลังอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ90.7 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 9.3 ตามลำดับ  ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดคอและหลัง และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดคอและหลัง โดยใช้คะแนนของทั้ง 3 ตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s rho) พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด (p-value>0.05)

References

1. โรงพยาบาลเวชธานี. ปวดคอแบบไหนเสี่ยงอันตราย. 2562 [Online]. Retrieved [cited 2019 March 20] Available from:
https://www.vejthani.com/th/2018/01/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
2. ธนินนิตย์ ลีละพันธ์. โรคปวดหลัง หมอเก่งกระดูกและข้อ. 2562 [Online]. Retrieved [cited 2019 March 20] Available from: http://taninnit.com/general-knowledge-menu/back_pain/74-backachec.html
3. อภิญญา ยุทธชาวิทย์. การยศาสตร์กับการบาดเจ็บทางทันตกรรม, ทันตาภิบาล, 2554; 22(1) : 17-23.
4. เยาวดี วิบูลย์ศรี. การวัดผลและการสร้างแบบสอบสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2548
5. Best, J. W. Research in education. 4th New Jersey: Prentice Hall. Stevenson, W. J. : 1981.
6. เบญจา ยอดดำเนิน. คู่มือวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ :กระทรวงสาธารณสุข: 2535.
7. รัฐกรณ์ ตีระพงษ์ศักดิ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้จักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2559.
8. ศศิภา โรจน์จิรนันท์ และอังคณา ขันตรีจิตรานนท์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 2016; 31(2) : 97-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)