พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สวย รอบรู้เจน คณะพยาบา่ลศาสตร์

คำสำคัญ:

นักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับสภาวะโรคฟันผุ ความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคลกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับสภาวะโรคฟันผุและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับสภาวะโรคฟันผุในนักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  200 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามด้านความรู้มีค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR–20) เท่ากับ 0.70 แบบสอบถามด้านทัศนคติ และการปฏิบัติตน มีค่าความเชื่อมัน่ โดยวิธีสัมประสิทธ์ิอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.71 และ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์(Chi-square) การทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

       ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 86.00) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.00)และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 55.20) สภาวะโรคฟันผุของนักเรียน พบว่ามีผู้ปราศจากฟันแท้ผุทั้งหมด 16  คน คิดเป็นร้อยละ 8

มีค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุถอนอุด (DMFT) รวมเท่ากับ 8.48 ซี่/คน การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก พบว่า อาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ในด้านความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากพบว่า เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง การไปรับการตรวจสุขภาพช่องปาก และการได้รับความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ  การศึกษาด้านความสัมพันธ์ต่อสภาวะโรคฟันผุ พบว่า ความรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ ต่อสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = .014) ในด้านทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากไม่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนจัดฟัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p – value = .701 และ p – value = .212)

References

1. สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย. ทันตกรรมจัดฟัน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง; 2557.
2. ภัสธิรา อรุณปรีย์. ความรู้ เจคคติและพฤติกรรมในการดูแแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 - 6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัด
กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
3. กองทันตสาธารณสุขกรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7; 2555.
4. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปาก
ระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สาเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
5. อธิวัฒน์ หัสดาลอย สุรีย์ จันทรโมลี ประภาเพ็ญ สุวรรณ และมยุนา ศรีสุภนันต์. ประสิทธิผล
โปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ได้รับการจัดฟัน.
ว.ทันตขอนแก่น 2560; 20(2). 37-51.
6. Krejcie, R.V. &Morgan, D.W., “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and
Psychological Measurement. 30(3), 607-610; 1970.
7. Frison, L., & Procock, SJ. Repeated measure in medical Trials : Analysis using mean summary
statistics and its implications for designs. Statistics in Medicine. 1, 1685–1704. ;1992.
8. Bloom,B.J. (Ed.), Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H. & Krathwohl, D.R. Taxonomy of Educational
Objectives: Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay; 1956.
9. Mehrens, W. A. & Lehmann, I. J. Measurement and Evaluation in Education and Psychology.
(3rd Ed.) New York: Holt, Rinehart and Winston; 1991.
10. Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16:
297-334; 1951.
11. อธิตยา ชุมศรี และวันเพ็ญ สมหอม. สภาวะโรคฟันผุ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านทันต
สุขภาพของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.ว.ทันตาภิบาล
2562; 30(1)55-68.
12. ธัญญาภรณ อุทร วันทนี ชวพงค์ และรพีพร เทียมจันทร์ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้น.ว.พิฆเนศวร์สาร 2556; 9(2):111-120.
13. ภัสธิรา อรุณปรีย์. ความรู้ เจคคติและพฤติกรรมในการดูแแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้น
ประถมศึกษาปี ที่ 4 - 6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่าอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
14. ทัศนวัฒน์ ฉายชูวงษ์ และ นิมมานรดี ชูยัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับสภาวะช่องปาก
และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง.
ว. สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3(1): 52-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)