ผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบริการทันตกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จุฬนาริน วิทยวรรณกุล หลักสูตรทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผลกระทบจากสถานการณ์โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบริการทันตกรรม และศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบริการทันตกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลูกข่าย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการทันตกรรม จำนวน 17 คน ผู้รับบริการทันตกรรม จำนวน 151 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง                วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ.2563 โดยใช้แบบสำรวจ และ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ ผลกระทบ และการรับมือต่อผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson  Correlation  coefficient)       

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้บริการทันตกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง                     จำนวน 9 คน (ร้อยละ52.9) อายุ 31-40 ปีจำนวน 7 คน (ร้อยละ 41.2 ) ผู้รับบริการทันตกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 100 คน (ร้อยละ 66.2)             อายุ 41-50 ปี จำนวน 35 คน (ร้อยละ 23.2) ผู้ให้บริการทันตกรรมส่วนใหญ่          มีความรู้อยู่ในระดับสูงจำนวน 15 คน (ร้อยละ 88.2) รองลงมาความรู้                ระดับปานกลางจำนวน 2 คน (ร้อยละ 11.1)  ผู้รับบริการทันตกรรมส่วนใหญ่ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 85 คน (ร้อยละ 56.3) รองลงมาความรู้ระดับสูงจำนวน 34 คน  (ร้อยละ 32.5) และความรู้ระดับต่ำ จำนวน 32 คน (ร้อยละ 21.2)  ผลกระทบผู้ให้บริการทันตกรรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับมากที่สุด จำนวน 12 คน (ร้อยละ 70.6) รองลงมา ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง จำนวน 5 คน (ร้อยละ29.4) ในส่วนของผู้รับบริการทันตกรรม          ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ ระดับปานกลาง จำนวน 94 คน (ร้อยละ 62.2) รองลงมา ได้รับผลกระทบระดับน้อยที่สุด จำนวน 41 คน (ร้อยละ27.2)               ได้รับผลกระทบในระดับมากที่สุด จำนวน 16 คน  (ร้อยละ10.6) ในส่วนของ การรับมือผู้ให้บริการทันตกรรมส่วนใหญ่การรับมืออยู่ในระดับดี จำนวน 13 คน  (ร้อยละ76.5) รองลงมา การรับมืออยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 คน                  (ร้อยละ23.5) ในส่วนของผู้รับบริการทันตกรรม ส่วนใหญ่ การรับมืออยู่                   ในระดับดี จำนวน 77 คน  (ร้อยละ51.0) รองลงมา การรับมืออยู่ในระดับ             ปานกลาง จำนวน 72 คน (ร้อยละ47.7) การรับมืออยู่ในระดับไม่ดี                      จำนวน 2 คน (ร้อยละ 1.3) ในด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆนั้น                 พบว่า อายุของผู้รับบริการทันตกรรมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = - 0.22 , p-value = 0.005) และการรับมือของผู้รับบริการทันตกรรม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = - 0.31 , p-value = 0.000)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครังนี้ ควรมีการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจในการเข้ารับบริการทันตกรรมในสถานการณ์ดังกล่าวแก่ผู้รับบริการ      ทันตกรรม ในส่วนของผู้ให้บริการทันตกรรมได้รับผลกระทบในระดับมากที่สุด ควรมีอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองที่เพียงพอ เพื่อความปลอดภัยจากการติดเชื้อรวมถึง โรคเชื้ออื่นๆ

References

1. World Health Organization. (2020).Corona virus disease (COVID-19).Retrieved 24 May 2020 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019
2. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2563). รู้ทันป้องกันหนูน้อยห่างไกลCOVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่24พฤษภาคม 2563จากhttps://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/epl/admin/article_files/1420_1.pdf.
3. กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 236 วันที่ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php
4. World Health Organization. (2020). Clean hands protect against infection. Retrieved 25 May 2020 from https://www.who.int/gpsc/clean_hands_protection/en/
5. ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ . (2563). แนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.thaidental.or.th/
6. Muhammad Adeel Ahmed และคณะ (2020). Fear and Practice Modifications among Dentists to Combat Novel Coronavirus Disease (COVID-19) Outbreak .
7. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล. (2563). ไวรัสโคโรนาที่ประชาชนรับรู้. สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ.
8. C. Zemouri และคณะ (2020). Modeling of the Transmission of Coronaviruses,Measles Virus,Influenza Virus, Mycobacterium tuberculosis, and Legionella pneumophila in Dental Clinics. Journal of Dental Research 2020, Vol. 99(10) 1192–1198 DOI:10.1177/0022034520940288journals.sagepub.com/home/jdr
9. สันทนา เจียมเจตจรูญ. (2539). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา.ภาคนิพนธ์พัฒนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต,พัฒนบริหารศาสตร์
10. Melvin L. DeFleur (1970), Theories of Mass Communication (New York: David Mckey Co.pp.122-124.
11. มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล และคณะ. (2558). การรับรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาของประชาชนไทย พ.ศ. 2558. รายงานกลุ่มควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)