ประสิทธิผลของการบูรณะฟันน้ำนมผุด้วยเทคนิค SMART ในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่อง พื้นที่จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ ประพรมมา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การบูรณะฟันน้ำนม, เทคนิค SMART, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

โครงการบูรณะฟันน้ำนมผุด้วยเทคนิค SMART ของจังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องระดับอำเภอ มีการประเมินผลหลังดำเนินงาน จากอัตราคงอยู่ของวัสดุอุดฟัน และความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมดังกล่าวเริ่มใน ปี พ.ศ.2562 และติดตามประเมินผลภายในระยะเวลา 3 เดือน

     ผลการดำเนินการ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย คือ 38 แห่ง (เป้าหมาย 16 แห่ง) จำนวนเด็กกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบูรณะฟันน้ำนมผุทั้งหมด 413 ราย จากการติดตาม พบมีการหลุดของวัสดุบางส่วน ร้อยละ 15.0 และหลุดทั้งหมด ร้อยละ 9.2 นอกจากนี้ ยังพบรอยโรคหลังการรักษา โดยเป็นการผุต่อเนื่อง ร้อยละ 8.4 และมีตุ่มหนองเกิดบริเวณฟันที่บูรณะ ร้อยละ 2.2 ตำแหน่งที่ผุมากที่สุด คือ ฟันกรามด้านล่างขวา และฟันกรามด้านล่างซ้าย (ร้อยละ 17.5, 17.3 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ ordinal logistic regression พบว่า การผุของฟันน้ำนมด้านกระพุ้งแก้มร่วมกับด้านบดเคี้ยว มีโอกาสที่วัสดุอุดฟันจะหลุดสูงกว่าการผุด้านบดเคี้ยวอย่างเดียว 6.5 เท่า (Odds ratio = 6.52; 95% CI: 1.46, 29.10) ทั้งนี้ แต่ละอำเภอยังมีความแตกต่างกันด้านประสิทธิผล (ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) นอกจากนี้ ยังพบว่า การหลุดของวัสดุอุดฟัน ส่งผลต่อรอยโรคหลังการรักษา โดยก่อให้เกิดการผุต่อของฟันน้ำนมและเกิดตุ่มหนองบริเวณรักษา (Odds ratio = 12.12, 21.68 ตามลำดับ) ขณะที่เด็กปฐมวัยที่มีจำนวนซี่ในการบูรณะเพิ่มขึ้น มีโอกาสเกิดรอยโรคหลังการรักษาลดลง 1.54 เท่า (Odds ratio(reciprocal) 1.54; 95% CI: 1.08, 2.17) ส่วนความพึงพอใจของบุคลากร ครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจสูงสุด รองลงมา คือ ทันตแพทย์ และทันตบุคลากรที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ ทั้งนี้ปัจจัยที่สะท้อนความพึงพอใจด้านลบของกลุ่มทันตบุคลากร คือ การได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการได้รับการฝึกอบรม ส่วนครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจด้านบวกในบุคลากรที่ให้บริการ, กระบวนการดำเนินงาน และการอำนวยความสะดวก

     ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรจัดตั้งผู้รับผิดชอบหลักในพื้นที่และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมในพื้นที่ตนเอง รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น

References

1.แอลดีซี เดนทัล. (2020). โรคฟันผุ ปัญหาเล็กๆ ที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่. [บล็อค].
สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564 จาก http://www.ldcdental.com/2016/05/11/caries/.
2. สุทธิรัศมิ์ พรรณพราว, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, อารียา รัตนทองคำ และมุขดา ศิริเทพทวี. (2556).
โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย: สาเหตุและการป้องกัน. North Eastern Thai Journal of Neuroscience,
12(2), 27 – 40.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8
ประเทศไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์.
4. เมธ์ ชวนคุณากร. (2540). การป้องกันฟันผุ. วารสารทันตสาธารณสุข, 2(2), 71 – 78.
5. กรองกาญจน์ ทองรักขาว, อ้อยทิพย์ ชาญการค้า, สุพิชชา ตลึงจิตร และพิชานัน ศรีสมหมาย. (2019).
อัตราความสำเร็จของการบูรณาการฟันด้วยซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินแบบดัดแปลง
ในฟันที่กำจัดเนื้อฟันผุบางส่วนที่ 6 เดือน. Journal Dent Associate Thai, 69(2), 186 – 197.
6. นฤพนธ์ อึ้งอุปละชัย และสิริกันยา สิงห์ศรี. (2559). การประเมินผลการรักษาและควบคุมฟันกรามน้ำนมผุ
ด้วยวิธี SMART ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและอนุบาล อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 3(2), 75 – 83.
7. ญาณัจฉรา สีคำ. (2560). การส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กวัย 2 – 5 ปี ด้วยการบูรณะฟันเทคนิค SMART.
8. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2563). คู่มือการบริหารจัดการ การบริการสร้างเสริมสุขภาพและ
ป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการบางกลุ่มวัยเป็นการจำเพาะ. นนทบุรี: สำนักทันต
สาธารณสุข.
9. ณัฐกาญจน์ ภาคยวงศ์. (2560). การอุดฟันกรามน้ำนมแบบอะทรอมาติกโดยหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่
อำเภอสามชุก สุพรรณบุรี: การประเมินผลระยะ 6 เดือน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 22(1), 27 – 36.
10. Agresti, A., (2002). Categorical Data Analysis. 2nd rev-ed., New York: John Wiley & Sons,2002.
11. Lachin J.M. (2000). Biostatistical methods: the assessment of relative rate. New York:
Wiley – Interscience.
12. Wallenstein S, Bodian C.. (1987). Inferences on odds ratios, relative risks, and risk differences based on standard regression programs. Am J Epidemiol, 126(1), 346 –55.
13. สุดา แซ่เตียว, อ้อยทิพย์ ชาญการค้า, พิชานัน ศรีสมหมาย และดวงธิดา ไพบูลย์วรชาติ. (2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการบูรณะฟันกรามน้ำนมล่างคลาสทูด้วยวิธี SMART ในเด็กก่อนวัยเรียนตามโครงการทันตกรรมเชิงรุก เขตสาธารณสุข 12. Journal Dent Associate Thai, 70(1), 26 – 35.
14. ศรีสุริยา ต้อยปาน, ทัศนีย์ เกตุคุ้มภัย และประภาศรี ริรัตนพงษ์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาควิชาทันตกรรมเด็กและคลีนิกทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการ มขปท, 3(3), 37 – 44.

15. วีรนันท์ วิชาไทย, ณัฐพล ชโยพิทักษ์, กนกเวทย์ ตั้งพิมลรัตน์, บุษกร โลหารชุน, อุบลวรรณ วัฒนาดิลกกุล, สมศักดิ์ ศรีพนารัตนกุล และสายทิพย์ ลีวรกานต์. (2562). การประเมินความพึงพอใจผู้ป่วยและ
ทันตแพทย์ที่ใช้เดนทัลแพล็ตฟอร์มต้นแบบเพื่อการรักษาทางทันตกรรม. วารสารกรมการแพทย์, 44(2), 108– 113.
16. จุฑาภรณ์ คำโยค, วลัยพร ราชคมน์ และวรัญญา เขยตุ้ย. (2558). ความต้องการรับบริการทันตกรรมและ
ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 77 – 88.
17. วรรณพร ศิริวัฒน์ และวรรณรพี บานชื่นวิจิตร. (2562). ความพึงพอใจในการบริการของหน่วยทันตกรรม และการลดการสูญเสียจากการจ่ายค่าตอบแทนทันตแพทย์รายชั่วโมง โดยที่ผู้ป่วยไม่มารับการรักษาตามจำนวนที่นัดหมาย สถานพยาบาลธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้า,
1072 – 1082.
18. วรัญญา เขยตุ้ย, ชัญญานุช ทิวะสิงห์ และวลัยพร ราชคมน์. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจใน
คุณภาพการให้บริการของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 5, 101-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)