Factors Associated With Periodontitis of Type 2 Diabetes Patients Khao Luang sub - District, Wang Saphung District, Loei Province.
คำสำคัญ:
Periodontitis, Factors associatedบทคัดย่อ
ปัญหาสุขภาพช่องปากส่งผลกระทบต่อบุคคลและชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงซึ่งปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดจากโรคเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวาน (อายุ 50-69 ปี) ประมาณร้อยละ 50 อย่างไรก็ดีโรคปริทันต์หากมีความรุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียฟันต่อการใช้งานได้ในอนาคต วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Case control study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มเป็นโรคปริทันต์ (Case) และกลุ่มไม่เป็นโรคปริทันต์ (Control) อายุ 50-69 ปี กลุ่มตัวอย่างจำนวน224 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 112 คน การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ใช้สถิติการถดถอยพหุลอจีติก (Multiple logistic regression) กำหนดค่าช่วงเชื่อมั่น (95% CI)
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศหญิง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 0.52 เท่าของเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 0.27-0.98, p-value=0.042) กลุ่มอายุ 60-69 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 2.69 เท่าของกลุ่มอายุ 50-59 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 1.41-5.13, p-value=0.003) อาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ว่างงาน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 4.80 เท่าของอาชีพค้าขาย/ธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 1.92-12.30, p-value=0.003) รายได้ 10,001 ขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 4.66 เท่าของรายได้ 5,000-10,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 1.65-13.12, p-value=0.003) ปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้ กลุ่มที่มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์น้อย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 0.27 เท่า ของกลุ่ม ที่มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์มาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 0.12-0.61, p-value=0.002) การมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็น 8.53 เท่าของกลุ่มที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI : 2.16-33.67, p-value=0.002) ส่วนปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์
References
2. ตวงพร กตัญญุตานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย เบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดศรีวารีน้อย ตำบลศรีษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 792-801.
3. นีรภา คงกังกง. (2558). โรคปริทันต์กับความเสี่ยงติอการเกิดโรคทางระบบ. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://www.dentistry.kku.ac.th/media2018/booklife/32.pdf
4. เพ็ญศิริ มีวรรณี. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล, 27(1), 96-107.
5. ศิริรัตน์ รอดแสวง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขต ตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสรรค์. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 วิจัยและนวัตกรรมกับการ พัฒนาประเทศ. 786-797.
6. ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. (2563). Health Data Center [HDC]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563,
จาก https://www.lo.moph.go.th/main2015/
8. สิริรัตน์ วีระเศรษฐกุล. (2561). ศึกษาความชุก พฤติกรรมทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรค ปริทันต์อักเสบ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(1), 9-20.
9. Center for Disease Control and Prevention. (2013). Periodontal Disease. Retrieved November 10, 2020, form https://www.cdc.gov/oralhealth/conditions/periodontal- disease.html
10. Ying Liu , Yang Yu , Jeffrey C. Nickel , Laura R. Iwasaki , Peipei Duan , Melanie Simmer-Beck and Laura Brown. (2018). Gender differences in the association of periodontitis and
type 2 diabetes. International Dental Journal, 68(September), 433-440.
11. Pender, N.J., Murdaugh, C.L. and Parson, M.N. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. New Jersey: Pearson.
12. P. M. Preshaw, A. L. Alba, D. Herrera, S. Jepsen, A. Konstantinidis, K. Makrilakis, R. Taylor. (2012). Periodontitis and diabetes: a two-way relationship. Diabetologia, [n.p.], 21-31.
13. Carlene Tsai, Catherine Hayes, George W Taylor. (2002). Glycemic control of type 2 diabetes and severe periodontal disease in the US adult population. Community Dent Oral Epidemiol, 30(3), 92-182.
14. World Health Organization. (2020). Diabetes. Retrieved June 8, 2020, from
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล