การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ในระยะเวลา 1-3 ปี ของ 6 หน่วยบริการในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Kaewalin Chankla สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ปรับปรุง 2560(สมทบ ม.บูรพา)

คำสำคัญ:

การเคลือบหลุมร่องฟัน, การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน, ฟันผุ, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 1-3 ปี ศึกษาการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ระยะเวลา 1-3 ปี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันกับการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ระยะเวลา 1-3 ปี ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเมื่อปี พ.ศ. 2561, 2562 และ 2563 ของ 6 หน่วยบริการในเขตพื้นที่อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 197 คน สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา โดยการใช้ค่าความถี่ ร้อยละ (Percentage)  อัตราส่วน (Ratio) อัตรา (Rate) สัดส่วน (Proportion) และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่สถิติไค – สแควร์ (Chi-square test) ในการวิเคราะห์          หาความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเคลือบหลุมร่องฟันทั้งการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง

ผลการวิจัย พบว่าการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ในระยะเวลา  1-3 ปี ของ 6 หน่วยบริการในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น มีการยึดติดอย่างสมบูรณ์น้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่มีการหลุดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน โดยพบในฟันล่างร้อยละ 94.4 ซึ่งมากกว่าการหลุดของสารเคลือบหลุมร่องฟันของฟันบน ในหน่วยบริการกระนวนมีการหลุดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันบนและฟันล่างมากที่สุด ร้อยละ 100 และมีการเกิดฟันผุในฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันล่างคือร้อยละ 56.3 ซึ่งมากกว่าฟันบน ในหน่วยบริการคำแมดมีฟันผุในฟันล่างมากที่สุด ร้อยละ 68.8 และการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน  มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ในระยะเวลา 1-3 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันที่หลุดในฟันกรามแท้ล่างซ้ายซี่ที่ 1 และฟันกรามแท้ล่างขวาซี่ที่ 1 มีการผุมากที่สุด ร้อยละ 49.7

คำสำคัญ : การเคลือบหลุมร่องฟัน, การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน, ฟันผุ, นักเรียนชั้นประถมศกษา

References

1.สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.[อินเทอร์เน็ต]. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560; 2560 เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=2423
2.เดชา ธรรมธาดาวิวัฒน์. [อินเทอร์เน็ต]. การประเมินผลโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันต กรรมสำหรับเด็ก ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี” ปีการศึกษา 2548-2550; 2548 13(5). เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/179411/127411
3.Oong EM, Griffin SO, Kohn WG, Gooch BF, Caufield PW. The effect of dental sealants on bacteria levels in caries lesions: a review of the evidence. J Am Dent Assoc. 2008 Mar;139(3); quiz 357-8. doi: 10.14219/jada.archive.2008.0156. PMID: 18310731.
4.Ismail, A. I. & Gagnon, P. (1995). A longitudinal Evaluation of Fissure Sealants Applied in Dental Practices. Journal of Dental Research, 74(9): 1583-90
5.Sukanya Tianviwat, Janpim Hintao, Virasakdi Chongsuvivatwong, Songchai Thitasomakul, Banyen Sirisakulveroj. [อินเทอร์เน็ต]. Factors Related to Short-term Retention of Sealant in Permanent Molar Teeth Provided in the School Mobile Dental Clinic, Songkhla Province, Southern Thailand; 2011 41(1). เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/admin/Downloads/8373-Article%20Text-16804-1-10-20130503.pdf
6.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.ขอนแก่น : ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
7.วศิน มหาศรานนท์. [อินเทอร์เน็ต]. ประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 1 ปี 5 ปี และการใช้บริการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).สงขลา.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562 เข้าถึงได้จาก: ttps://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/13153/1/437958.pdf
8.กรัณฑชา สุธาวา. [อินเทอร์เน็ต]. ประสิทธิผลในการเคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตาภิบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดเลย; 2558 24(2). เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/439/389
9.ฉลองชัย สกลวสันต์. [อินเทอร์เน็ต]. สภาวะฟันผุของฟันกรามแท้ซี่แรกที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในนักเรียนประถมศึกษา จังหวัดน่าน; 2558 20(3). เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/150922/110501
10.วลีรัตน์ ชุมภูปัน. [อินเทอร์เน็ต]. การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันของหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในโรงเรียน กับคลินิกทันตกรรมในระยะเวลา 6, 12, และ 36 เดือนในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร; 2554 16(2). เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/178316/126797
11.จันทร์ธิมา พวงพยอม, พยงค์ เทพอักษร, ภัคชิสา คนสุภาพ, และภัทราภรณ์ เต็งโรจน์นภาพร. [อินเทอร์เน็ต]. การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในผู้ที่เข้ามารับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน ณ คลินิกทันตกรรมนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561 1(3). เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/admin/Downloads/153510-Article%20Text-448286-1-10-20181221.pdf
12.วลัยพร อรุณโรจน์. [อินเทอร์เน็ต]. การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุที่ระยะเวลา 60 เดือน โรงพยาบาลบางกล่ำ จังหวัดสงขลา; 2559 3(1). เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/admin/Downloads/52531-Article%20Text-121823-1-10-20160321.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Articles)