ความชุกของฟันตกกระและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันตกกระ ในเด็กประถมศึกษา อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ นามมนตรี Sirindhorn College of Public Health Khon Kaen
  • ชนัญดา มนิสสา
  • เนตรปรียา ทั่งกระโทก
  • สุชาดา กองทอง
  • สุทธิรัศมิ์ พรรณพราว

คำสำคัญ:

เด็กประถมศึกษา, ฟันตกกระ, ความชุก, ผู้ปกครอง, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดฟันตกกระ ระดับความรุนแรงของฟันตกกระ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันตกกระในเด็กประถมศึกษา  อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 304 คน และ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบตรวจ  ฟันตกกระสำหรับตรวจฟันเด็กโดยโดยแบ่งความรุนแรงตามดัชนีฟันตกกระของดีน (Dean’s Index )  โดยผู้ตรวจผ่านการปรับมาตรฐานการตรวจ ค่าสถิติ Kappa มีค่า 0.81-0.88 และใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองโดยแบบวัดการรับรู้มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีครอนบาคอัลฟ่ามีค่าเท่ากับ 0.77 และแบบวัดความรู้ มีความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.70   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square และ Multiple logistic regression            

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมีอายุเฉลี่ย 10.77 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 นักเรียนมีฟันตกกระคิดเป็นร้อยละ 36.5 โดยเพศชายมีฟันตกกระมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 48.8 และ 28.2 ตามลำดับ พบความชุกสภาวะฟันตกกระระดับสงสัยคิดเป็นร้อยละ 27.6 โดยซี่ฟันที่พบว่าเป็นฟันตกกระระดับสงสัย พบมากที่สุดในฟันซี่ 21 คิดเป็นร้อยละ 17.1 ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 72.4 ไม่เคยรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับฟันตกกระ และส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับฟันตกกระระดับต่ำ คิดเป็น ร้อยละ 83.2 เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันตกกระพบว่าปัจจัยด้านเพศ และ จำนวนครั้งในการแปรงฟันของเด็ก มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันตกกระ โดยพบว่าปัจจัยด้านเพศมีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันตกกระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value<0.001) เมื่อพิจารณาโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระ พบว่า เพศชาย มีโอกาสมีฟันตกกระมากกว่าเพศหญิง 2.40 เท่า (AOR=2.41, 95%CI=1.46-3.99)  และจำนวนครั้งในการแปรงฟันของเด็ก มีความสัมพันธ์กับสภาวะ ฟันตกกระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(p-value < 0.001) เมื่อพิจารณาโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระ พบว่า เด็กที่แปรงฟัน 3 ครั้งต่อวัน มีโอกาสมีฟันตกกระมากกว่า เด็กที่แปรงฟัน 1-2 ครั้งต่อวัน 4.17 เท่า (AOR=4.17, 95%CI = 2.36-7.41)  

References

Ekstrand J.Fluoride Metabolism. Munksgaard: Denmark; 1996; 55-65 .

ศันสณี รัชชกูล. ความรู้สู่ประชาชนเพื่อเด็กยุคใหม่ฟันไม่ตกกระ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์กลางเวียง; 2542.

ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 10. ฟันตกกระ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ. 2544.

สำนักทันตสาธรณสุข กรมอนามัย. ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค. รายงานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค งานเฝ้าระวังทันตสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. 2561.

กองทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ประเทศไทย. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2545.

Warren JJ, Kanellis MJ, & Levy SM. Fluorosis of the primary dentition: what does it mean for permanent teeth? Journal of the American Dental Association, 1999;130(3): 347–56.

สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2555.

สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. 2561.

Wondwossen F, Astrøm AN, Bjorvatn K, Bårdsen A. The relationship between dental caries and dental fluorosis in areas with moderate- and high-fluoride drinking water in Ethiopia. Community Dentistry and Oral Epidemiology. 2004;32(5): 337-44.

.กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม. การสุ่มตรวจสอบปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบ 1. 2559.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยเรียน 6-12 ปี. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. 2548.

ฟาริดา เพียงสุขและสาวิตรี วะสีนนท์. การยึดติดในฟันตกกระ. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร, 2557;35(2):13-23.

สุทธิรัศมิ์ พรรณพราว. ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;13(2):7-22.

Hsieh FY, Bloch DA & Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 1998;17(14):1623-34.

สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญาและอังศณา ฤทธิ์อยู่. แนวทางจัดการฟลูออไรด์สูงในน้ำบริโภคเพื่อป้องกันผลกระทบทางทันตสุขภาพ. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2548.

Dean HT, Arnold FA, Elvove E. Domestic water and dental caries. Additional studies of the relation of fluoride domestic waters to dental caries experience in 4,425 white children aged 12-14 years in 13 cities in four states. Public Health Rep, 1942;57:1155-1179.

สมทรัพย์ อธิคมรังสฤษฏ์. ฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำบาดาลของประเทศไทย. การประชุมวิชาการ กทธ ปี 2538 เรื่อง "ความก้าวหน้าและวิสัยทัศน์ของการพัฒนาทรัพยากรธรณี". 2538:645-57.

วันวิสาข์ ขำแสง. การรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาฟันตกกระของชุมชน ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

ขนิษฐา อุปการและทิพยาภรณ์ มาลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะฟันตกกระในเด็กวัยเรียนกับพฤติกรรมการบริโภคน้ำในครอบครัวที่มีเด็กฟันตกกระของตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2560;7(2):160-7.

วิกุล วิสาลเสสถ์, สุรางค์ เชษฐพฤนท์,สุวิภา อนันต์ธนสวัสดิ์. การกลืนยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กก่อนวัยเรียน. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์, 2546;53(3):161-7.

เพ็ญทิพย์ จิตต์จำนงค์, วิกุล วิสาลเสสถ์และสุรางค์ เชษฐพฤนท์. ความเสี่ยงต่อฟันตกกระจากการกลืนยาสีฟันในเด็กไทย. วารสารส่เสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2546;25(3):84-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)