สภาวะโรคช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้านสังคมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เกษรากร อัตเนย์ -
  • บุญก้อง พรหมงาม
  • สิทธิโชค เลี่ยมดี
  • จินดา คำแก้ว
  • พรพรรธน์ มันตะสูตร

คำสำคัญ:

สภาวะโรคในช่องปาก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้านสังคม

บทคัดย่อ

            การวิจัยแบบ Cross - Sectional Analytical Study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การดูแลสุขภาพช่องปาก และสภาวะโรคในช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้านสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 659 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Systematic random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้ค่า IOC = 0.80 ค่า Reliability = 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน คือ Spearman’s Rank test และ Fisher’s Exact test

            ผลการศึกษา ส่วนใหญ่มีภาวะฟันแท้ ผุ ถอน อุด ร้อยละ 83.7 (x̄ = 1.84, S.D. = 0.37) สภาวะเหงือกอักเสบเล็กน้อย ร้อยละ 86.1 (x̄ = 2.04, S.D. = 0.38) ทักษะการแปรงฟัน ระดับต่ำ ร้อยละ 67.3 (x̄= 1.10, S.D. =0.34) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ ผู้ปกครอง อาชีพเกษตรกร การแปรงฟันด้วยวิธีขยับปัด กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้านสังคม มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value = 0.042, p-value = 0.023, p-value = 0.01และ p-value = 0.001) ตามลำดับ

             หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนและเน้นให้ความสำคัญต่อผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้านสังคมให้สูงขึ้นตามช่วงอายุ

References

กมลกัลย์ โชคธันยนันท์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. ตรัง : วิทยาลัยการสาธารณสุข

สิรินธรจังหวัดตรัง.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะ

สุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560 สำนักทันตสาธารณสุข กรม

อนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จันทร์เพ็ญ เกสรราช และคณะ. (2558). พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปาก

นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล, 28(2), 28-44.

ฐาปนี ว่องไวตะกูล และคณะ. (2561). ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปาก

และสภาวะทันตสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอวารินชำราบ จังหวัด

อุบลราชธานี. อุบลราชธานี : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

ณัฐวุธิ แก้วสุธา. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่น

ตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 154.

ณัฐวุธิ แก้วสุธา. (2558). ทฤษฎีและแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก

ของวัยรุ่นตอนต้น.วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 78-91.

ทรงชัย ฐิติโสมกุลและคณะ. (2556). ความชุกของโรคฟันผุและผลกระทบต่อประสิทธิภาพการ

บดเคี้ยวและคุณภาพชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธิดารัตน์นวนศรี. (2556). ผลกระทบของโรคในช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร

มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงาน

สาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ,16(2), 9-18.

ปิยลักษณ์ เดือนกอง. (2556). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ

จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มินตรา นาคธร. (2554). ประสิทธิผลในการกำจัดหินน้ำลาย และผลกระทบต่อผิวรากฟัน ของ

หัวขูดหินน้ำลายพีโซอิเลกทริกชนิด P5 .มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.

สุบงกช จามีกร. (2526). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). การวิจัยการศึกษาเบื้อต้น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ

แห่งชาติปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด :

พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ)ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี ฟันดีไม่มีผุ

(cavity free). อุบลราชธานี.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปาก

แห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์กำจัด.

อัยลดา จันทะพาและคณะ. (2556). ความสัมพันธ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและ

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น. วารสาร

ทันตาภิบาล, 28(1), 101-113.

อรุณณีย์ ธงสวัสดิ์. (2550). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อ

ป้องกันโรคหลอกเลือดอักเสบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม

ตำบลโน้นฆ้อง อำเภอบ้านฝา งจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาขาสาธารณสุข

ศาสตรมหาบัณฑฺิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Niedrman R, Sullivans M. T. (1981). Oral Hygiene Skill Achievemnt Index. Journal Of

Periodontology, 3(52), 143-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)