ผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์ต่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในตำบลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กนกวรรณ ศรัทธากุล
ปภาวรินท์ ภาคเรณู

บทคัดย่อ

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นช่วงวัยที่สำคัญในการการจักระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์ต่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในตำบลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีโดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลลำลูกกา จำนวน 77 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบวัดความรอบรู้สุขภาพด้านช่องปากและแบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง และดัชนีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับควรปรับปรุง ร้อยละ 51.9 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านของความรอบรู้สุขภาพด้านสุขภาพช่องปากทั้ง 6 ด้าน หลังการทดลองการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Mean = 3.87, SD = 0.58) สูงกว่าก่อนทดลอง (Mean = 2.75, SD = 0.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  และนักเรียนส่วนใหญ่มีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับดีร้อยละ 54.5 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่เข้าร่วมอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเพื่อเพิ่มพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียน หน่วยงานสาธารณสุข และโรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Nutbeam D. Health literacy as a public goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the

st century. Health Promotion International 2000; 15(3),259–267.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและสื่อสารสุขภาพ. [ออนไลน์]

[อ้างเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560] จาก http://www.anamai.moph.go.th/

โรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม. จำนวนนักเรียน. [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 11 มีนาคม 2564] จาก

https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1013270105

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย

พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด;2561.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้ง

ที่ 2 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2551.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ:

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด(มหาชน);2561.

Adam NE. Bloom’s taxonomy of cognitive learning objectives. J Med Libr Assoc 2015;103(3):

–3. doi: 10.3163/1536-5050.103.3.010

Chestnutt IG. Epidemiology of Periodontal disease. UK: Dental Public Health at a Glance;

ธีรพงศ์ มุทาไร, จักกฤษ กมลรัมย์, ธนัฏฐา สงแพง, ฌัชชา ทับเที่ยงทวี และ วราภรณ์ สุริยะวงศ์. ประสิทธิผล

ของโปรแกรมสุขศึกษาต่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

กรณีศึกษาในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วารสารทันตสาธารณสุข 2565;27:41-59.

รอซีกีน สาเร๊ะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และ กัลยา ตันสกุล. ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการดูแลสุขภาพ

ช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(3):27-39.

กนกวรรณ ศรัทธากุล และ พรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพด้านสุขภาพช่องปาก

ของนักเรียนประถมศึกษาในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2562;13(4):1-13.

พรรณนิภา เลาหเพ็ญแสง และ ปิยะนารถ จาติเกตุ. ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้

ด้านสุขภาพช่องปากในผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. วารสารทันตสาธารณสุข 2565;

:28-40.

เพิ่มรัตนะ สรีระเทวิน, จันทร์เพ็ญ ศรีทัศน์ และ ประทีป กาลเขว้า. พฤติกรรมสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มี

ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจําจังหวัดนนทบุรี. วารสารทันตาภิ

บาล 2564;32(2):54-69.