ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ศรีสังข์ Dental public health department,Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen Province
  • เพชรลดา ประกายเพชร
  • แพรวพรรณ สิมมานี
  • นุชวรา ดอนเกิด

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทำวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 92 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 46 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก ใช้เวลา 6 สัปดาห์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงพรรณนา ใช้วิเคราะห์การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม ใช้สถิติ Paired Sample T-test และ wilcoxon matched pairs signed ranks test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent Sample T-test และ Mann-Whitney U test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานด้านทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากดีกว่าก่อนทดลองและค่าคะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากดีกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่ามัธยฐานของปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก มีผลทำให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีทัศนคติที่ดีขึ้น สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี และมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดโรคในช่องปากได้และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้

คำสำคัญ: โปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน      

References

เอกสารอ้างอิง

กิติศักดิ์ วาทโยธา, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อ

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัด

กำแพงเพชร. บทวิทยาการ, 40(1), 81-96.

ธนวัฒน์ มังกรแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน.

วารสารราชนครินทร์, 143-150.

นฤมล จันทร์สุข, ยุทธนา พินิจกิจ และ ชวนนท์ จันทร์สุข. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก

ในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่2. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(1), 30-39.

ไพสิฐ ภิโรกาศ, อรวรรณ กีรติสิโรจน์. (2562). ผลของโปรแกรมประยุกต์ความสามารถของตนเองต่อ

พฤติกรรมการดูแลทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.

วารสารสุขศึกษา, 42(2), 110-122.

มนัสนันท์ ชัยประทาน. (2558). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันโรคฟันผุของอาสาสมัคร

สาธารณสุขในเขต อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 357-366.

รุ่งเพ็ชร บุญทศ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่อง

ปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารทันตา ภิบาล, 31(2), 65-76.

วรรษชล ลุนาวัน, บัววรุณ ศรีชัยกุล และ จตุพร เหลืองอุบล. (2560). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

โดยประยุกต์ทฤษฎีกำกับตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 80-89.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8

ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). เอกสารการคัดเลือก อสม.ดีเด่น สาขาทันตสุขภาพ.

สืบค้น 13 พฤษภาคม 2565. จาก https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2999_03f59d115c10479343a19884ba56b06b_article_20190723101540.pdf

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน:การประยุกต์แนวคิด

และทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3)ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Bandura,A. (1997). Social Foundation of Thought and Action. Englewood Cliffd,NJ : Prentice-

Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)