ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รพีพรรณ ปุ้งมา -
  • ทรงพล ราชบาศรี
  • ก้องภพ ถาบุญแก้ว
  • ชีวนันท์ เหล่าพงศ์พิชญ์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์ ,การเข้ารับบริการทางทันตกรรม, การใช้ไหมขัดฟัน, ความเข้าใจและความพึงพอใจในการต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์จำนวน 126 คน โรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองซึ่งผ่านการตรวจค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาอยู่ระหว่าง 0.71-0.84 ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-Square และ Fisher’s Exact Test วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุ 20ถึง 35 ปี ร้อยละ 77.8 อายุเฉลี่ย 25.88 ± 5.34 ปี ความชุกของการเข้ารับบริการทันตกรรมคิดเป็นร้อยละ 79.37 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ไหมขัดฟัน (ร้อยละ 84.2) มีโอกาสเข้ารับบริการทางทันตกรรมสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ไหมขัดฟัน (ร้อยละ 15.8) 3.54 เท่า (OR = 3.54, 95% CI: 1.35-9.27, p-value = 0.008)ปัจจัยด้านความเข้าใจและความพึงพอใจในการต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมระดับสูง (ร้อยละ 87.0) มีโอกาสเข้ารับบริการทางทันตกรรมมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเข้าใจและความพึงพอใจในการต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมระดับต่ำ-ปานกลาง (ร้อยละ 70.2) 2.83 เท่า    (OR = 2.83 , 95%CI: 1.15 – 6.98, p-value = 0.021)

References

Saddki N, Bachok N, Hussain NH, Zainudin SL, Sosroseno W, The association between maternal periodontitis and low birth weight infants among Malay women. Community Dent Oral Epidemiol. 2008; 36: 296-304.

WHO Antenatal Care Randomized Trail: Manual for the Implementation of the newmodle.[Internet]. 2002 [cited 2015 Oct 18] Available from:

http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/42513/1/WHO_RHR_01.30.pdf

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัย. คู่มือการดำเนินงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว. 2550.

World Health Organization [Internet]. Switzerland: World Health Organization. 2020;

[Updated 2018 Feb 19; cited 2020 Sep 10] Available from:

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth

ฉัตรแก้ว บริบูรณ์หิรัญสาร. โรคปริทันต์ ถ้ารู้เท่าทันเราก็ไม่เป็น [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560;

[เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=698

Kinane DF. Causation and pathogenesis of periodontal disease. Periodontol 2000. 2001; 25: 8-20.

Han YW. Oral Health and Adverse Prenancy Outcomes- What’s Next? J Dent Res. 2011; 90(3): 289-293.

แผนกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน. รานงานแผนกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนปี 2563. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลกมลาไสย. 2563.

ของชณัฐดา สืบสิงห์คาร สุธิดา กันหา อรวรรณ นามมนตรี และณัฐฐินันท์ ทองปฐมวงศ์. สภาวะฟันผุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย. วารสารทันตาภิบาล. 2560; 28(1): 60-72.

ภัทราภรณ์ หัสดิเสวี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาใช้บริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2554.

สำนักทันตสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2564.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. [ออนไลน์]. 2564 (เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565).

เข้าถึงได้จาก: http://dental.skto.moph.go.th/documents/form/other20201109_023212.pdf

Bouzenita, AI., & Boulanouar, AW. Maslow’s hierarchy of needs: An Islamic critique. Intellectual Discourse. 2016; 24(1):

–81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)