ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงาน ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วัฒนเสน -
  • นันทิยา รัมย์ณีรัตนากุล
  • จุฑามาศ ตะราษี
  • เจษฎาภรณ์ ทองสุพรรณ
  • ฉันทิกา ชัยโย

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการทันตกรรม, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาการเข้ารับบริการทันตกรรมในช่วงสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมในสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 325 คน  ระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง  0.71 -0.93  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-square test  สถิติ Fisher’s Exact test และ Odds Ratio

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนางรองไปใช้บริการทันตกรรมในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบ 1 ปีที่ผ่าน ร้อยละ 40 ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ โรคประจำตัว ความจำเป็นต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรม มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.009, 0.014, 0.038, 0.001 ตามลำดับ) กลุ่มคนวัยทำงานที่มีอายุ 36 ปีขึ้นไปมาใช้บริการทันตกรรม มากกว่ากลุ่มที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี 2.01 เท่า (OR = 2.01, 95%CI: 1.18 ถึง 3.40) กลุ่มที่มีอาชีพเกษตรกรมาใช้บริการทันตกรรมมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำอาชีพเกษตรกร 1.77 เท่า (OR =1.77, 95%CI: 1.12 ถึง 2.79) กลุ่มวัยทำงานที่มีโรคประจำตัวมาใช้บริการทันตกรรมมากกว่ากลุ่มวัยทำงานที่ไม่มีโรคประจำตัว 1.79 เท่า (OR = 1.79, 95%CI: 1.03 ถึง 3.31) ส่วนปัจจัยด้านความจำเป็นต่อการเข้ารับบริการทางทันตกรรม พบว่า ผู้ที่มีความจำเป็นในการรับบริการทันตกรรม มาเข้ารับบริการทันตกรรม  3.40 เท่า ของผู้ที่ไม่มีความจำเป็นในการรับบริการทันตกรรม (OR = 3.40, 95%CI: 2.14 ถึง 5.41)

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย. กรุงเทพ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด;2561.

ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล, วลัยพร ราชคมน์ และ วรัญญา เขยตุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทาง

ทันตกรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 2561; 5(1):1-20.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, ชุติมา สร้อยนาค, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ปริศนา อัครธนพล, และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2563; 12(2):323 - 337.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน. ผู้ป่วยนอกที่รับบริการทางทันตกรรม รวมทุกสิทธิ์ (คนต่อสถานบริการ) [ออนไลน์] 2564. [อ้างเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565] จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=dental/

dental_1.php&cat_id=fc73b811eb6d9206e7e5baf8ad20d7b9&id=cba4cc41872398d244dde8e2604c1fda

Davidson, P.; Andersen, R. Determinants of dental care utilization for diverse ethnic and age groups. Adv Dent Res 1997, 11,254–262.

ธิดา รัตนวิไลศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์. .[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2554

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพ: วิทยพัฒน์;2552.

Best J.W. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs;1977

สุนิสา หนูพูน. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทางด้านทันตกรรมของคลินิกทันตกรรมทันตศิลป์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย; 2562.

ณิชาภัทร อติเปรมินทร์. ปัจจัยการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน (ทั่วไป) ในช่วงวิกฤติโควิด-19 กรณีศึกษาในเขตพื้นที่วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2562;5-6.

บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทันตกรรมโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561; 12(18):97-101.

วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ, จอนสัน พิมพิสาร, พนิดา ฤทธิรณ, และรุ่งนิดา รอดวินิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับริการทันตกรรมของวัยทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในเขตเทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล 2565; 33(1):66-71.

วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, วิภาดา จิตรปรีดา, วิลาวัลย์ พรมชินวงค์, สุพรรษา จันทร์สว่าง และศุภศิลป์ ดีรักษา. ทัศนมิติในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของ ประชาชนในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ โคโรนาไวรัส (โควิด 2019) อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล 2564; 32(1):80-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)