การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงอาหารวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อโนราช โยเหลา -
  • สิริภักดิ์ สมใจเพ็ง
  • วิชชนี โยเหลา

คำสำคัญ:

การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, สุขาภิบาลอาหาร, ส้วมสาธารณะ, โรงอาหาร

บทคัดย่อ

     การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงอาหาร วิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งแบ่งขอบเขตการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงอาหาร การประเมินห้องส้วมสาธารณะภายในโรงอาหาร และการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการให้บริการโรงอาหารในจังหวัดขอนแก่นของบุคลากรและนักศึกษา ระยะเวลาศึกษาเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

     ผลการศึกษาพบว่า การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงอาหาร ด้านสุขาภิบาลอาหาร พบว่า ผลการประเมินด้านตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาล ในหัวข้อ ภาชนะใสน้ำส้มสายชู น้ำปลาและน้ำจิ้มต้องทำด้วยแก้วกระเบื้องเคลือบขาวมีฝาปิดและช้อนตักทําด้วยกระเบื้องเคลือบขาวหรือสแตนเลสสำหรับเครื่องปรุงรสอื่นๆ ต้องใส่ในภาชนะที่ทำความสะอาดง่ายมีฝาปิดและสะอาด ร้านจำหน่ายอาหารไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 ด้านการจัดการห้องส้วมให้ได้มาตรฐาน มีส้วมนั่งราบ สำหรับผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์  ผู้พิการและประชาชนทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 100 ความพึงพอใจของบุคลากรและนักศึกษาก่อนและหลังการใช้บริการโรงอาหาร พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยทางวิทยาลัยจะมีการปรับปรุงโดยให้ร้านค้าเปลี่ยนภาชนะใส่เครื่องปรุงใหม่และมีการสร้างส้วมสำหรับผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ ผู้พิการ และปรับปรุงการให้บริการของโรงอาหารต่อไป

References

R. Ishaqa , M. Manzoorb, A. Hussainc, J. Altafb, S. ur Rehmanb,Z. Javedb , et al. Prospect of microbial food borne diseases in Pakistan. Brazilian Journal of Biology. December 22, 2019.

Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health, Ministry of Public Health. Handbook of operational procedures for food sanitation management systems. local level Printing house of the National Buddhism Office. 2011.

Centers for Disease Control and Prevention. Surveillance for Foodborne Disease Outbreaks. Morbidity and Mortality Weekly Report Weekly.

January 25, 2013; 62(3).

Jainim, S., Na Chiang Mai, N., Khamchai, S. Study on Public Toilet Standards in Gas Stations. Chiang Mai-Hod Road Chiang Mai Province graduate school Chiang Mai Rajabhat University. 2018.

James M. Fleckenstein, F. Matthew Kuhlmann and Alaullah Sheikh. (2021). Acute bacterial gastroenteritis. Gastroenterol Clin North Am. June 2021;

(2): 283–304.

Kajornchaikul, P., Worachina S, Thayansilp S. A study of the influence of food consumption behavior on cognitive abilities. in early childhood children aged 5-6 years who are underprivileged children in Surin Province. Department of Family Health Faculty of Public Health Mahidol University. 2018.

Office of Food and Water Sanitation, Department of Health, Ministry of Public Health. Food Sanitation Standard Practices for Cafeteria. Printing house,

The Veteran Welfare Organization. 2020.

Silpasorn, S. Satisfaction of students using the service center. Food of Suan Sunandha Rajabhat University. Thesis, M.Ed. (Business Studies).

Bangkok : Graduate School, University. 2008.

Srihavong, N.; Sethithum, D. Situation of Food Sanitation in Phu Wiang District Market. Khon Kaen Province Public Health Research Journal Khon Kaen University. 2017; 10(3).

Yupiam, W. Satisfaction in using the cafeteria service in the university of students. Burapha University, Chonburi Province. Department of Statistics, Burapha University, Chonburi Province. 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)