ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมเลี้ยงเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมเลี้ยงเด็กปฐมวัย, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมเลี้ยงเด็กปฐมวัย และศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของผู้ปกครองที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครอง จำนวน 59 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง0.704-0.735 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square และ Fisher’s Exact Test
ผลการศึกษา ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.4 อายุเฉลี่ย 35.63 ปี ความสัมพันธ์กับเด็กส่วนใหญ่เป็นบิดา/มารดา ร้อยละ 81.4 เด็กเริ่มใช้ขวดนมอายุเฉลี่ย 4.85 เดือน ผู้ปกครองจะให้ดื่มน้ำตามหลังการดูดนมร้อยละ 72.5 ส่วนใหญ่เด็กหลับคาขวดนม ร้อยละ 47.5 และเด็กเลิกใช้ขวดนมตามเกณฑ์ ร้อยละ 72.5 เหตุผลที่ให้เด็กเลิกขวดนม คือ ถึงอายุที่ควรเลิกใช้ขวดนมร้อยละ 53.5 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ครัวเรือนต่อเดือนและความสัมพันธ์กับเด็กมีความสัมพันธ์กับการเลิกใช้ขวดนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value= 0.047, 0.025 ตามลำดับ)
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า การเลิกขวดนมนั้นต้องอาศัยความตั้งใจ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และสมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสม ร่วมกับการให้การป้องกันฟันผุในระยะเริ่มแรกและควรศึกษาสภาวะฟันผุในเด็กที่เลิกใช้ขวดนมช้ากว่าเกณฑ์
References
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย.
พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
นิธิฤทธิ์ เจริญสกุลมณีเกิด และดารณี ดุสรักษ์. [อินเทอร์เน็ต]. การทบทวนวรรณกรรมเรื่อง โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย. [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://apps.hpc.go.th/dmkm /web/uploads/2020/034011-20200326175822/c89914a2eb9984b3cc36c4a8ba7cda02.pdf
Dulyarat Thowprasert. The effects of reading the storytelling media on bottle feeding behavior andthe attitudes of caregivers of early childhood in Child development centers in Bangkruai District, Nonthaburi. Thai Dental Nurse Journal. 2021; 32(1): 1-12.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. [อินเทอร์เน็ต]. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf
นาฎวดี อังควัฒนะพงษ์. [อินเทอร์เน็ต]. พฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพฟันและช่องปากที่พบได้บ่อย. Interprofessional Team Care in Pediatrics: Learn and Work Together. 2564
[เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://ped.md.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/40_CUPA2021-ebook.pdf
American Academy on Pediatric Dentistry, American Academy of Pediatrics. Policy on early childhood caries (ECC): classifications, consequences, and preventive strategies. Pediatr Dent; 2009.
Noraluk Ua-Kit, Laddawan Pensri. [Internet]. Utilization of the PRECEDE MODEL in Health Promotion. 2019 [cited 2023 Feb 6]. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/ download/203249/145132/657760
สิทธิเดช สุขแสง. [อินเทอร์เน็ต]. การสำรวจหาอายุเฉลี่ยของเด็กในการเลิกขวดนมและวิธีการของผู้ปกครองที่ใช้ในการเลิกขวดนมในเด็กอายุ 1-4 ปี ที่มารับบริการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. กรุงเทพมหานคร: งานทันตสาธารณสุข สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://mwi.anamai.moph.go.th/th/mwi- research/download?id=87185&mid=36865&mkey= m_document&lang=th&did=28110
Chanyanit Horthiwong. [Internet]. Factors Associated with Dental Caries of Children Aged 3-5 Years Old in the Sweet Enough Child Care Center,Sop Prap District, Lampang Province. 2558 [cited 2023 Feb 6]. Available from: http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/39310/3/full.pdf
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2553.
Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.
Best, J. W. Research in Education. (4th ed.) Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall; 1981.
ณรงค์ชัย หัตถี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; ม.ป.ท. 2553.
สุทธิรัศมี พรรณพราว สภากรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา อาริยา รัตนทองคำ และมุขดา ศิริเทพทวี. โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย: สาเหตุและการป้องกัน. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience 2560, 12(2), 27-40.
Chanthamas Chana. [Internet] Factors Influencing Bottle Weaning in a Child Age 2-4 Year at Pediatric Out Patient Department of Fort Suranari Hospital, Nakhon Ratchasima Province. [M.P.H. Thesis in Public Health] Nakhon Ratchasima; Nakhon Ratchasima Rajabhat University, 2555 [cited 2023 Feb 6]. Available from: https://mis.nrru.ac.th/gradjournal/uploadify/uploads/Test/1%2003-11-14%2011-17-16.pdf
Wilailuk Thivakorakot. [Internet]. Associated Factors of Oral Health Status in Working-age Population at Amphawa District, Samut Songkhram Province. Region 4-5 Medical Journal; 36(4) October-December 2017.237-249. 2017 [cited 2023 Feb 6].
Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/120140
Orawan Nammontri, Nongrat Klumrut, Sunisa Khaokota. Baby bottle addict, how to manage. Review articles. Thai Dental Nurse Journal 2016; 27(1): 144-152.
Wiriya Hengcrawit. Bottle Weaning in Children 6 Month-7 Years Old at Prajomkloa Hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2012; 31(4): 359-370.
Jutamas Maneechot. The effects of oral health promotion program on tooth brushing behavior weaning of baby bottle use among caregivers and caries increment of 9-18 months old children in Hat Yai District, Songkhla Province. [M.S. Thesis in Oral Health Sciences] Songkla; Prince of Songkla University; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล