ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในผู้ปกครองต่อสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณภัทรพงษ์ หงษีทอง โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, ผู้ปกครอง, โปรแกรมทันตสุขศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในผู้ปกครองต่อสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 140 คน ได้แก่ เด็กก่อนวัยเรียนและผู้ปกครอง แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 70 คน ซึ่งได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม และกลุ่มเปรียบเทียบ 70 คน ซึ่งได้รับคู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบบันทึกสภาวะสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน

ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง ผู้ปกครองในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยผู้ปกครองในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 2.08 คะแนน (95% CI: 1.69, 2.46) และ 0.47 คะแนน (95% CI: 0.40, 0.53) ตามลำดับ เด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสะอาดของฟันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยเด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสะอาดของฟันน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 0.61 คะแนน (95% CI: 0.48, 0.74) หมายความว่ามีความสะอาดของฟันมากขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลอง ผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนสูงขึ้น และมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนดีขึ้น ตลอดจนเด็กก่อนวัยเรียนมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลง และมีความสะอาดของฟันมากขึ้น

References

1. Kummanon T. Oral hygiene. Nonthaburi: Faculty of Fine and Applied Arts Sukhothai Thammathirat Open University; 2005.

2. Bureau of Dental Health, Department of Health. Report on the results of the 8th National Oral Health Survey, 2017. Nonthaburi: Samchareon Phanich (Bangkok) co., ltd.; 2018.

3. Tapnantakun P. Factors related to dental caries in early childhood children aged 3-6 years in phrom khiri district. nakhon si thammarat province [Master’s thesis of science]. Bangkok: Mahidol University; 2013.

4. Rogers R.W., A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. The journal of psychology 1975; 91(1): 93-114

5. House J.S., The association of social relationship and activities with mortality: Community Health Study. American Journal Epidemiology 1981; 3(7): 25-30.

6. Jirawatkul A. Biostatistics for health science research. Khon Kaen: Klungnan Vitthaya Press; 2004.

7. Botmart R, Duangsong R. Effects of oral health care promotion program among pre-school children by parents phon thong sub-district pho tak distric nong khai provience. Thai Dental Nurse Journal 2012; 23(1): 28-39.

8. WHO. Oral Health Surveys: Basic methods. 5th ed. Geneva; World health Organization 2013.

9. Pongsatornpuriwat P. Effects of dental health education on the prevention of dental caries in preschool children parents, child development centers [Master’s thesis of public health]. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University; 2012.

10. Khontong T. Effect of the rigorous oral care capabilities applied program onto parents' behavior in dental health care of preschool children at the ban ta-dob child development center, Ta-dob district, amphor Muang, sisaket [Master’s thesis of public health]. Maha Sarakham: Maha Sarakham University; 2013.

11. Surin A, Raksanam B, Suklim N, Tungkam Th. Effects of oral Health care promotion program among parents on dental caries prevention of preschool children in child development centers, khok yang community, trang. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Heal

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)