ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา ประเสริฐรัมย์ นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มกราพันธุ์ จูฑะรสก อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, บรรยากาศองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ทันตบุคลากร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือ ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 130 คน ทำการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.98 และเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพโดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการสัมภาษณ์จาก ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับบรรยากาศองค์การ และระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากร อยู่ในระดับมาก (μ=3.74±0.50), (μ=3.79±0.54) และ (μ=3.77±0.47) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.700, p-value <0.001, r=0.786, p-value <0.001) ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบยังมีข้อจำกัดในการยังมีข้อจำกัดในการร่วมมือกันปฏิบัติงาน และวัสดุอุปกรณ์ที่ ไม่เพียงพอ และตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่ บรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บรรยากาศองค์การมิติความเสี่ยง ปัจจัยทาง การบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์ บรรยากาศองค์การมิติมาตรฐานการปฏิบัติงาน และบรรยากาศองค์การมิติความอบอุ่น มีผลและสามารถร่วมกันใน การพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 67.0 (R2=0.670, p-value <0.001)

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ;2560.

สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. นโยบายการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข และแนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย;2565.

Walton RE. Quality of working life: What is it?. Sloan Management Review. 1973; 4(7): 20-23.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2558.

Litwin GH, Stringer RA. Motivation and organization climate. Boston: Harvard University;1968.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ก). ฐานข้อมูลทันตบุคลากร ปี 2565. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์;2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ข). แบบรายงานเอกสารวิชาการของฝ่ายทันตสาธารณสุข ปี 2565 จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์;2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ค). ข้อมูลการประเมินความสุขของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข Happinometer ในปี 2565. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์;2565.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates;1988.

ชบาไพร สุวรรณชัยรบ, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(3): 145-157.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2547.

Elifson KW, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill;1990.

นัฐรินทร์ ช่างศรี, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 166-78.

นิชาภา หลังแก้ว, ชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(38): 685-704.

มนตรี ยาสุด, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ของบุคลากรศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2555; 12(3): 83-96.

ปิยะพงษ์ ศรีสองเมือง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.

วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2561; 18(2): 78-89.

สันติ อุทรังษ์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสุขศาลาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2560; 17(3): 64-76.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(3): 223-235.

ภูมิฤทัย จุรัณณะ, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามพันธกิจที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดของนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(3): 158-166.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์, ชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(4): 47-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)