การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ทศพล แอนโก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาว จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

สภาวะช่องปาก, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น, โรคฝันผุ, โรคเหงือกอับเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาสภาวะช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และการแปรงฟันกับสภาวะช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนรัฐบาลในเขตตำบลนาเวียง  อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสังเกตการแปรงฟัน และแบบตรวจสภาวะช่องปาก การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเท่ากับ 0.73-1.00   และการตรวจสอบด้านความเที่ยง (Reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มากกว่า 0.7

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี  สภาวะโรคฟันผุ ถอน อุด จำนวน 532 ซี่ ร้อยละ 24.36 ของจำนวนซี่ฟันทั้งหมดที่ตรวจ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.85 ซี่/คน โดยเป็นฟันผุ 4.37 ซี่/คน, ฟันถอน 1.38 ซี่/คน และฟันอุด 0.09 ซี่/คน และมีหินน้ำลายรวมทั้งมีเลือดออกในฟันซี่เดียวกัน (Sextant) จำนวน 153 Sextant ร้อยละ 28.36 ค่าเฉลี่ยมีหินน้ำลายรวมทั้งมีเลือดออก 1.68 sextant/คน ข้อมูลส่วนบุคคล  พบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุ แต่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคเหงือกอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.03) และระดับการศึกษาปัจจุบัน ไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุ แต่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคเหงือกอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p=0.03) ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ได้แก่ เพศ,  สถานศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, อาชีพผู้ปกครอง และจำนวนเงินที่ได้มาโรงเรียน รวมทั้งระดับความรู้, ระดับทัศนคติ,  ระดับพฤติกรรมและระดับทักษะการแปรงฟัน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปาก

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์จำกัด; 2561.


2. Best JW. Research in Education. (6th ed.).  Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall. 1981.


3. Niedrman R, Sullivans MT. Oral Hygiene Skill Achievement Index. Journal Of Periodontology. 1981; 3(52): 143-156.


4. สมลักษณ์ แสงสัมฤทธิ์สกุล. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขในช่องปากของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.


5. Tepprasit P, Yuvanont P. The Impact of Logistics Management on Reverse Logistics in Thailand’s Electronics Industry. International Journal of Business and Information; 2015.


6. รัตนา ทรัพย์บำเรอ.  ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 2559.


7. กมลกัลย์  โชคธันยนันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อําเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2560.


8. นิตยา พวงราช, จิราพร เขียวอยู่, วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. ความสัมพันธ์ระหว่างเงินค่าขนมกับปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) ในเด็กอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันตาภิบาล. 2557; 25(1): 1-12.


9. วีรยุทธ พลท้าว, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล. 2557; 25(2): 75-88.


10.    ชมนาด ทับศรีนวล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.


11.    จันทร์เพ็ญ เกสรราช, นงลักษญ์ ดาวลอย, ปองชัย ศิริศรีจันทร์. พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล. 2560; 28(2): 30-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)