ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ เขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ นามมนตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธัญวรัตม์ เที่ยงธรรม โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
  • สุพิชญา ภิรมจิตร โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • เสาวลักษณ์ ชมพูทัศน์ หน่วยบริการปฐมภูมิบ้านนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ณัฐกฤตา ผลอ้อ โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสูญเสียฟัน, ความชุก, ความสัมพันธ์, ปัจจัย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียฟัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60-74 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลน้ำพองและเทศบาลลำน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 226 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่ายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกสภาวะทันตสุขภาพค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลกและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมีค่าเท่ากับ 0.73 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องในการตรวจฟันด้วยสถิติแคปปามีค่าเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันโดยใช้สถิติ
Chi-square test นำเสนอค่า Odds Ratio (OR) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

ผลการวิจัยพบความชุกของการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอน้ำพองอย่างน้อย 1 ซี่ เท่ากับ ร้อยละ 89.8 ผู้สูงอายุที่มีฟันใช้งานน้อยกว่า 20 ซี่ เท่ากับ ร้อยละ 48.23 และผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันทั้งปากเท่ากับร้อยละ 3.5 เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ
สูญเสียฟันโดยพิจารณาการมีฟันในช่องปากน้อยกว่า 20 ซี่ พบว่า
อายุมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR=2.48 95%CI 1.35-4.54, p-value = 0.003)

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563. [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39772


2. กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อรรถเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์และอรัญญา นามวงศ์..สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2563; 17(2): 581-595.


3. อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย:ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2563; 10(2): 46-58.


4. Razak PA, Richard KM, Thankachan RP, Hafiz KA, Kumar KN, Sameer KM. Geriatric Oral Health: A Review Article. J Int Oral Health 2014; 6(6): 110-116.


5. รวีวรรณ สุรเศรณีวงศ์. สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2561; 14(1): 87-100.


6. ณภัทรพงษ์ หงษีทอง, ศิริพร คำสะอาด, รัชฎา น้อยสมบัติ, รัชนีกร สาวิสิทธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์กับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 21(1): 10-20.


7. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.


8. Raphael C. Oral health and aging. American Journal of Public Health 2017; 107(S1): S44-S45.


9. จิริสุดา บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(2): 91-106.


10. Antonovsky A. Unraveling the mystery of health: How people manage stress and stay well: Jossey-bass. 1987.


11. Monica Eriksson. The sense of coherence: the concept and its relationship to health. In The Handbook of Salutogenesis. 2022; pp. 61-68. Springer.


12. อรฉัตร คุรุรัตนะ. ความสำคัญของความเข้มแข็งในการมองโลกต่อสุขภาพช่องปาก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 13(2): 140-150.


13. Nammontri O., Robinson P. G., Baker S. R. Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster-randomized trial. J Dent Res 2013; 92(1): 26-31.


14. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17(14): 1623-34.


15. สุธาสินี สมานชาติ, ฉวีวรรณ บุญสุยา, คัติยา อีวาโนวิช. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับฟันแท้ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ของผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลเทศบาลเมือง สาขาโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารสุขศึกษา 2564; 44(2): 202-215.


16. Best JW. Research in Education, 4th Edition, New Delhi, Prentice Hall of India Pvt. Ltd.; 1981.


17. กนกอร โพธิ์ศรี, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุที่มีอายุช่วง 60-74 ปี ในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2558; 26(2): 73-86.


18. Tiwari T, Scarbro S, Bryant L, Puma J. Factors associated with tooth loss in older adults in rural Colorado. J Community Health 2016; 41(3): 476-481.


19. Rosli TI, Mun CY, Kadir RA, Hamid TA. Association between tooth loss and body mass index among older adults in Kuala Pilah, Negeri Sembilan. Journal Sains Kesihatan Malaysia 2018; 16(1): 81-86.


20. Ikebe K, Matsuda K, Morii K, Nokubi T. Ettinger R. L. The relationship between oral function and body mass index among independently living older Japanese people. Int J Prosthodont 2006; 19(6): 539-546.


21. Blankson B, Hall A. The anthropometric status of elderly women in rural Ghana and factors associated with low body mass index. J. Nutr. Health Aging 2012; 16: 881-886.


22. Barreto SM, Passos VM, Lima-Costa MF. Obesity and underweight among Brazilian elderly: the Bambuí Health and Aging Study. Cad Saude Publica 2003 19(2): 605-612.


23. Bauer J. et al. Evidence-based recommendations for optimal dietary protein intake in older people: a position paper from the PROT-AGE Study Group. J Am Med Dir Assoc. 2013; 14(8): 542-559.


24. Deutz NE, et al. Protein intake and exercise for optimal muscle function with aging: recommendations from the ESPEN Expert Group. Clin Nutr 2014; 33(6): 929-936.


25. Song IS, Han K, Ryu JJ, Park JB. Association between underweight and tooth loss among Korean adults. Sci Rep 2017; 7: 41524.


26. Cetin MB, Sezgin, Y, Onder C, Bakirarar B. The relationship between body mass index and stage/grade of periodontitis: A retrospective study. Clin Oral Investig 2022; 26: 1937-1945.


27.  Park JB, Han K, Park YG, Ko Y. Association between alcohol consumption and periodontal disease: The 2008 to 2010 Korea National Health and Nutrition Examination Survey. J Periodontol 2014; 85(11): 1521-1528.


28. Issrani R, Reddy J, Bader A, et al. Exploring an Association between Body Mass Index and Oral Health - A Scoping Review. Diagnostics (Basel) 2023; 13(5): 902.


29. Chen TP, Yu HC, Lin TH, Wang YH, Chang YC. Association between obesity and chronic periodontitis: A nationwide population-based cohort study in Taiwan. Medicine (Baltimore) 2021; 100(41): e27506.


30. Natarajan P, Choudhury M, Seenivasan MK, Jeyapalan K, Natarajan S, Vaidhyanathan AK. Body Mass Index and Tooth Loss: An Epidemiological Study in a Sample of Suburban South Indian Population. J Pharm Bioallied Sci 2019; 11(Suppl 2): S402-S406.


31. Chisini LA, Queiroz AB, de Lima FV, et al. Is obesity associated with tooth loss due to caries? A cross-sectional study. Brazilian J Oral Sci 2021; 19: e201088.


32. กวินธิดา สิงห์ทะ, ศศนัท เรือนปัญโญ, มุจลินท์ แปงศิริ, สิวลี รัตนปัญญา. พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563; 16(1): 46-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)