ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ปางพุฒิพงษ์ เหมมณี หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปะรัศมี สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพและความงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก, นักศึกษาปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 355 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.5 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 86.5 มีรายได้ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.2 สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสุขภาพทั่วหน้า ร้อยละ 47.9 ในระหว่าง 12 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไปรับบริการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี หรือไปรับบริการทันตกรรมตามนัด ร้อยละ 43.1 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่ระดับพอใช้ ร้อยละ 64.5 ระดับพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ระดับปานกลาง ร้อยละ 70.4 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก พบว่า ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพช่องปากและการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพช่องปากมีอิทธิพลบวกกับพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) มีความสามารถในการอธิบายพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 33.7

จากการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ในองค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพช่องปาก ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพช่องปากและด้านการจัดการตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพช่องปาก สามารถนำประเด็นความรอบรู้ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปากมาออกแบบสื่อการให้ทันตสุขศึกษา และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับกลุ่มนักศึกษา

References

1. Jin LJ, Lamster IB, Greenspan JS, Pitts NB, Scully C, Warnakulasuriya S. Global burden of oral diseases: emerging concepts, management and interplay with systemic health. Oral Dis. 2016; 22(7): 609-619.

2. Hayes A, Azarpazhooh A, Dempster L, Ravaghi V, Quiñonez C. Time loss due to dental problems and treatment in the Canadian population: analysis of a nationwide

cross-sectional survey. BMC Oral Health 2013; 13(1): 17.

3. Kelekar U, Naavaal S. Hours Lost to Planned and Unplanned Dental Visits Among US Adults. Prev Chronic Dis. 2018; 15: E04.

4. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศ ไทย. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก. 2561.

5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจอนามัยสวัสดิการ พ.ศ.2564. นนทบุรี: กองสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2564.

6. World Health Organization. Health literacy. Geneva: World Health Organization; 2016.

7. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;

67(12): 2072-2078.

8. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

9. Cohen J. A power primer, Psychological Bulletin. 1992; 112(1): 155-159.

10. Best JW. Research in Education. 4th ed. Englewood. Cliff, NJ: Prentice Hall; 1981.

11. ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. การวิเคราะหขอมูลและการใชสถิติในงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ส.เสริมมิตรการพิมพ จํากัด. 2551.

12. รอซีกีน สาเร๊ะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;

3(3): 27-39.

13. กิตติยา ศรีมาฤทธิ์, จันทร์นวล นิยม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 5(3): 36-50.

14. ศิริภา คงศรี, สดใส ศรีสะอาด. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตภิบาล 2563; 31(1): 133-147.

15. Mutluay, M, Abidin TM. “Caries prevalence, oral health practices/behaviours and dental anxiety levels amongst dental hygiene students: A cross-sectional study.” International journal of dental hygiene. 2020; 20(2): 262-272. 

16. Khamrin P, Boonyathee S, Bootsikeaw S, Ong-Artborirak P, Seangpraw K. Factors Associated with Health Literacy, Self-Efficacy, Social Support, and Oral Health Care Behaviors Among Elderly in Northern Border Community Thailand. Clin Interv Aging. 2021; 16: 1427-1437.

17. Zamanzadeh M, Mahmoodnia E, Moosazadeh M, Ghorbani A. Evaluation of Oral Health Literacy among Adults in Sari - Iran. Pak J Med Health Sci.; 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)