รูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วรรณา วัดโคกสูง Bungkla Sub-District Health Promotion Hospital, Chaiyaphum Province

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือผู้ดูแล, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงซึ่งมีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทันตสาธารณสุข หากทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงมีข้อจำกัดด้านกายภาพ มีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันและต้องการมีผู้ดูแลสุขภาพเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจึงมีความสำคัญไม่ต่างจากการดูแลสุขภาพทั่วไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ ผู้วิจัยดำเนินการด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาเอกสาร และใช้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อยของบุคคลในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มย่อยและการศึกษาเอกสาร

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งภายในรูปแบบใช้วงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มี 10 ขั้นตอน ผู้แทนชุมชน ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข และทันตบุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกขั้นตอน โดยการดำเนินการตามกรอบแนวคิดวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจะได้รับการบริการด้านทันตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง นอกจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ช่วยเหลือผู้ดูแล และทันตาภิบาลทำให้เกิดการส่งต่อข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและทันต่อการรักษาเบื้องต้นหรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย

References

1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานความยากจนหลายมิติของเด็กไทย

ปี 2564. กรุงเทพมหานคร; 2564. 

2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพมหานคร; 2559. 

3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการจัดบริการดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุสำหรับทันตบุคลากร. นนทบุรี; 2564. 

4. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก. แนวทางการให้บริการทันตสุขภาพ ในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก; 2564. 

5. วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง, ทัศไนย วงค์ปินตา. ประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2564;

17(1): 64-75. 

6. Sue Danley K. Part of the Health Services Research Commons, Psychiatric and Mental Health Commons [Internet]. Psychiatry. 1999. Available from: https://escholarship.umassmed.edu/psych_cmhsr://escholarship.umassmed.edu/psych_cmhsr/470

7. MacDonald C. Understanding participatory action research: a qualitative research methodology option. The Canadian Journal of Action Research. 2012; 13(2): 34-50. 

8. Makoelle TM. Exploring teaching practices that are effective in promoting inclusion in South African secondary schools. [Manchester]: University of Manchester; 2013. 

9. Yueran S, Waratwichit C. Participatory Action Research and the Success of Policy Change in Health System. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health [Internet]. 2018 [cited 2023 Nov 7]. 5(2): 288-300. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/130891

10. ชิสา ตัณฑะกูล, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์, วรรธนะ พิธพรชัยกุล. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุติดบ้านหรือติดเตียงในชุมชนบ้านดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2565;16(3):193–206. 

11. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุ่งคล้า. โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2565. ชัยภูมิ; 2565. 

12. Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic Inquiry. California: Sage Publications. 1985; pp. 221-350.

13. Wangkahat N, Glangkarn S, chanprasert P. Model Development of Tambon Health Promoting Hospital by Using the Quality

Criterion of Primary Care Award, Dongluang Dristrict, Mukdahan Province. Journal of Science and Technology Mahasarakham University [Internet]. 2015 [cited 2023 Sep 24]. 34(6): 569-74. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/index

14. Touyjad T, Rojpaisarntkit K, Kiangkaisukda V. Model development of learning resource on village health volunteer of tumbon wangmai amphoe nayaiyam in chanthaburi province. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology). 2016; 11(2): 1-16. 

15. Suwanbamrung C, Thougjan S, Ponprasert C, Situka P, Tapkun B, Mopraman P. “Chaiya Model” the Network of Aedes Aegypti Larval Indices Surveillance System for Sustainable Dengue Solution: The Results from Transmitting Technology to Community. Area Based Development Research Journal [Internet]. 2018 [cited 2023 Nov 7]. 10(1) :70-87. Available from: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/111974

16. Ruankham W. The Effects of Participatory Action Research to Behavior and Participatory of Helmintic Infection Prevention and Control of Village Health Volunteer : Nanglae Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province. Area Based Development Research Journal [Internet]. 2014 [cited 2023 Nov 7]. 6(3): 40-60. Available from: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96957

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)