ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จุฬนาริน วิทยวรรณกุล ทันตแพทย์อิสระ คลินิกทันตกรรมสไมล์โซน จังหวัดขอนแก่น
  • อนงนารถ คำเชียง ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม
  • พลอยนิล อันทะศรี นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านห้วยก้านเหลือง จังหวัดบึงกาฬ
  • ยุวธิดา พลหมอ นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายมูล จังหวัดขอนแก่น
  • รัตนกร จำปากุล นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โนนสมบูรณ์ จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

โรคฟันผุ, เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, สภาวะทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 278 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Chi-Square Test  

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.5 ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.3 และพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.5 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.8 ซี่/คน และค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ เท่ากับ 1.27 ซี่/คน เพศหญิงมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.028) และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.025)

จากผลการศึกษาข้างต้น โรงเรียนควรมีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และจัดให้มีการตรวจสุขภาพช่องปากจากทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นักเรียนรับรู้และตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง

References

Lockhart PB, Brennan MT, Thornhill M, Thornhill M, Noll J, Bahrani-Mougeot FK, et al. Poor oral hygiene as a risk factor for infective endocarditis-related bacteremia. JADA. 2009; 140(10): 1238-44.

Fejerskov O, Kidd E. Dental caries: the disease and its clinical management Blackwell Munksgaard. 2nd ed. Oxford: Blackwell Munksgaard; 2008.

Mattila ML, Rautava P, Sillanpää M, Paunio P. Caries in five-year-old children and associations with family-related factors. J Dent Res. 2000; 79(3): 875-81.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ทส.003. นครพนม: โรงพยาบาลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม, 2559.

กุลธิดา ประภายนต์, ชฎาพร โรจน์บัวทอง, วารุณี สุดตา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอำนวยเวทย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(2): 13-24.

ทัศนวัฒน์ ฉายชูวงศ์, นิมมานรดี ชูยัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับสภาวะ ช่องปากและพฤติกรรมการดูแล ทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 3(1): 52-67.

อธิตยา ชุมศรี, วันเพ็ญ สมหอม. สภาวะโรคฟันผุ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 55-68.

ณัฐสิทธิ์ รัตนกระจ่างศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านทันตสุขภาพต่อพฤติกรรม ทันตสุขภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พระเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. 2553.

ธิดารัตน์ ตั้งกิตติเกษม, วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์. สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของ เด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2): 9-22.

รพีพรรณ เพชรรัตน์. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของเด็กวัย 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

Mwakatobe AJ, Mumghamba EGS. Oral health behavior and prevalence of dental caries among 12-year-old school-children in Dar-es-Salaam, Tanzania. Tanzania Dental Journal. 2007; 14(1): 1-7.

นิตยา เจริญกุล, ฤาเดช เกิดวิชัย, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้าน ทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม: กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 2557; 3(2): 12-22.

ปิ่นทอง ประสงค์สุข. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

รอซีกีน สาเร๊ะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ กับการดูแลสุขภาพช่องปาก ของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(3): 27-39.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน, วันเพ็ญ สมหอม, นิลุบล ปานะบุตร, วิชากร ว่องธวัชชัย, เจนจิรา วันริโก, ดลยา พามา และคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้รับการจัดฟัน เขตอำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2564; 32(2): 83-96.

อธิตยา ชุมศรี, วันเพ็ญ สมหอม. สภาวะโรคฟันผุ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้าน ทันตสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 55-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)