ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรยา มณีลังกา ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปรียานุช นามพิกุล อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มาลิกา นามทรรศนีย์ ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • จารุวรรณ จันทระ นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เมธาลักษณ์ ยลถนอม นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปาก, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) ตำบล บัวขาว อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 180 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-Square และ Fisher's exact test

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 53.9) ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับสูง (ร้อยละ 71.1) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.0) ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 60.6) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.4) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.03) ส่วนปัจจัยนำ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value >0.05)

References

สิทธิชัย ขุนทองแก้ว, ชลธชา ห้านิรัติศัย, ยุพิน ส่งไพศาล, ประธีบ พันธุมวนิช. สุขภาพในช่องปาก ของประชากรไทย: สภาพปัจจุบันปัญหาและข้อเสนอ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2540.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตู...สู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/Additional/UI/oralcare.pdf

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf

Green LW, Kreuter MW, Deeds Sigrid G, Partridge Kay B. Health Education Planning: A Diagnostic Approach. California: Mayfield Publishing Company; 1980.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2567]; 12(1): 38-48. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/203249

Best JW. Research in Education. (4th ed.) Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall; 1981.

ธิดารัตน์ ตั้งกิตติเกษม, วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์. สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2): 9-22.

กิตติยา ศรีมาฤทธิ์, นิยม จันทร์นวล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565; 5(3): 36-50.

ทัศนวัฒน์ ฉายชูวงศ์, นิมมานรดี ชูยัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับสภาวะช่องปากและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2563; 3(1): 52-67.

อธิตยา ชุมศรี, วันเพ็ญ สมหอม. สภาวะโรคฟันผุความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพ ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 55-68.

เบญญา ภาผิวนวล, ขวัญวิภา เวทการ, ปริญญา จิตอร่าม, ธนกฤต ธนวงศ์โภคิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันที่โรงเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 15-28.

ศรุตยา โสคําภา, วัฒน์ บุญกอบ, จันทร์จารี เกตุมาโร, เกษม ชูรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนราชวินิต. วารสารสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย. 2565; 48(1): 177-84.

เกษรากร อัตเนย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2565; 2(3): 17-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)