ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นฤชา นนทมิตร นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรวรรณ นามมนตรี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ, ความเข้มแข็งในการมองโลก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ความรอบรู้ด้าน ทันตสุขภาพ ความเข้มแข็งในการมองโลกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในอำเภอแก้งคร้อจำนวน 614 คน ทำการสุ่มตัวย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ แบบวัดความเข้มแข็ง ในการมองโลกและแบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67 - 1 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.70 - 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์และสถิติพหุถดถอยลอจิสติก กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 326 คน คิดเป็นร้อยละ 53.10 (S.D. = 0.50) อายุเฉลี่ย 11.84 ปี (S.D. = 0.36) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในระดับมาก (การได้รับผลกระทบจากปัญหาในช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันน้อย) คิดเป็นร้อยละ 92.5 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 78 มีความเข้มแข็งในการมองโลกในระดับน้อย คิดเป็น ร้อยละ 88.60 เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากพบว่า ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพและความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่มีความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพต่ำถึงปานกลางจะมีโอกาสที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากไม่ดีเป็น 1.70 เท่าของผู้ที่มีความรอบรู้ด้าน ทันตสุขภาพสูง (AOR = 1.70, 95% CI 1.43 - 3.10, p-value = 0.017) และผู้ที่มีความเข้มแข็งในการมองโลกต่ำมีโอกาสที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากไม่ดีเป็น 2.04 เท่าของผู้ที่มีความเข้มแข็งในการมองโลกปานกลางถึงสูง (AOR = 2.04, 95% CI 1.68 - 4.66, p-value = 0.013)

References

Constitution of the World Health Organization. In: World Health Organization: Basic documents. 45th ed. Geneva: World Health Organization; 2005.

Nutbeam D. Health promotion glossary. Health Promotion International. 1998; 13(4): 349-64.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008; 67(12): 2072-78.

อนุพงษ์ สอดสี, ภาสกร ศรีไทย, ธีราภรณ์ พนาวัลย์. ความฉลาดทางสุขภาพช่องปากและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในความร่วมมือกับวิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารคณะพลศึกษา 2560; 20(2): 150-58.

Ueno M, Takeuchi S, Oshiro A, Kawaguchi Y. Relationship between oral health literacy and oral health behaviors and clinical status in Japanese adults. Journal of Dental Sciences 2013; 8: 170-76.

American Dental Association. Health literacy in dentistry strategic action plan 2010 - 2015. United States: American Dental Association 2010.

Horowitz AM, Kleinman DV. Oral Health Literacy: The New Imperative to Better Oral Health. Dental Clinics of North America 2008; 52(2): 333-44.

Dickson-Swift V, Kenny A, Farmer J, Gussy M, Larkins S. Measuring oral health literacy: a scoping review of existing tools. BMC oral health 2014; 14(1): 148.

Batista MJ, Lawrence HP, Sousa MDLR. Oral health literacy and oral health outcomes in an adult population in Brazil BMC public health 2018; 18: 1-9.

Antonovsky A. Health, stress, and coping. New perspectives on mental and physical well - being, San Francisco: Jossey-Bass. 1979; 12-37.

Antonovsky A. Unraveling the mystery of health: How people manage stress and stay well. San Francisco, CA: Jossey - Bass; 1987.

Monica E. The sense of coherence: the concept and its relationship to health. The Handbook of Salutogenesis. Springer. 2022; 61-8.

Moksnes, Unni K. Sense of coherence. Health promotion in health care - vital theories and research. 2021; 35-46.

Eriksson M, Lindstrom B. Antonovsky's sense of coherence scale and its relation with quality of life: A systematic review. Journal of Epidemiology and Community Health 2007; 61: 938-44.

Eriksson M, Lindström B. Antonovsky's sense of coherence scale and the relation with health: a systematic review. Journal of Epidemiology and Community Health 2006; 60: 376-81.

อรฉัตร คุรุรัตนะ. ความสําคัญของความเข้มแข็งในการมองโลกต่อสุขภาพช่องปาก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 13(2): 140-50.

Reddy KS, Doshi D, Kulkarni S, Reddy BS, Reddy MP. Correlation of sense of coherence with oral health behaviors, socioeconomic status, and periodontal status. Journal of Indian Society of Periodontology. 2016; 20(4): 453-9.

Elyasi M, Abreu LG, Badri P, Saltaji H, Flores-Mir C, Amin M. Impact of sense of coherence on oral health behaviors: A systematic review. PloS One. 2015; 10(8): e0133918.

Lindmark U, Hakeberg M, Hugoson A. Sense of coherence and its relationship with oral health - related behaviour and knowledge of and attitudes towards oral health. Community Dentistry and Oral Epidemiology. 2011; 39: 542-53.

อรฉัตร คุรุรัตนะ. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกที่มีต่อปริมาณคราบจุลินทรีย์และสภาวะเหงือกของเด็กนักเรียน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 12: 1-11.

Nammontri O, Robinson PG, Baker SR. Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster - randomized trial. Journal of dental research 2013; 92(1): 26-31.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine. 1998; 17(14): 1623-34.

จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, อรวรรณ นามมนตรี, วรวัฒน์ แก่นจันทร์. สภาวะทันตสุขภาพและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(2): 131-41.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็ก และเยาวชน อายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป; 2561.

Best JW. Research in Education, 4th Edition, New Delhi: Prentice Hall of India Pvt. Ltd.; 1981.

Gururatana O, Baker SR, Robinson PG. Psychometric properties of long and short forms of the Child Perceptions Questionnaire (CPQ). Community dental health 2011; 28: 232-37.

รอซีกีน สาเร๊ะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการดูแล สุขภาพช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(3): 27-39.

อนุพงษ์ สอดสี, นลินี ณ นคร, สังวรณ์ งัดกระโทก. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(2): 80-91.

กฤษณี เฮงตระกูลเวนิช, กนกวรรณ พรหมชาติ, รัศมี ฟุ้งไพศาล. การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ฟันผุ และคุณภาพชีวิตของเด็กอายุ 12 ปี อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2563; 25(1): 29-37.

Nammontri O, Robinson PG, Baker SR. Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster - randomized trial. Journal of dental research. 2013; 92(1): 26-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)