พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กอายุ 3 -5 ปี

ผู้แต่ง

  • ปริญญา จิตอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • กุลนาถ มากบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กอายุ 3 - 5 ปี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความรู้,ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และทัศนคติ กับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี ของผู้ปกครอง ดำเนินการวิจัย ในกลุ่มประชากรที่เป็นผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปี ที่เข้ารับการเรียนรู้จาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 97 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อย ละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (\inline \mu) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (\sigma) และค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’ s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี ในภาพรวม ร้อยละ 85.57 อยู่ในระดับสูง ทัศนคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 3-5 ปี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( \inline \mu = 2.54, \sigma = 0.333) และพฤติกรรม ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี ค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับสูง ( \inline \mu = 1.42 , \sigma = 0.345)เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. เอกสารประกอบการนาเสนอการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่ 5. มปท;2555.

2. งานทันตสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. แนวทางการดำเนินงาน “ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก” ปี 2556. มปท;2555.

3. ธนัชพร บุญเจริญและกัลยา อรุณแก้ว. การศึกษาความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 1-5 ปี และปัจจัยของมารดาที่มีผลต่ออัตราการเกิดโรคฟันผุของบุตรที่โรงพยาบาลแม่และเด็ก.เชียงใหม่;2535.

4. วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพ ฯ : กองการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ;2538.

5. อรุโณทัย ภูมิภาค. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปี ในเขตพื้นที่สถานีอนามัยบ้านอุ่มเม่า อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาค้นค้าอิสระ สบ,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ร้อยเอ็ด;2546.

6 . พัชรี ศรีชัย. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการป้องกันโรคฟันผุในเด็กอายุ 3-5 ปี เขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยดงใหญ่ ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข สบ,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาสารคาม;2545.

7. Eronat., N., Eden, E.A., comparative study of some influencing factors of rampant or nursing caries in preschool childen. J clin Pediatr Dent.;1992.

8. วัลธินี ปิงแก้ว. สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครอง ของเด็กอายุ 2-6 ปี อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาขาสาธารณศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่;2549.

9.Gibson, S., William, S. Dental caries in pre-school childen, Association with social class, toothbrushing habit and consumption of sugar and sugar containing foods. Caries Res;1999.

10 สมนึก ชาญด้วยกิจ. อิทธิพลการบริโภคอาหารของเด็กไทยอายุ 6-30 เดือนต่อการเกิดโรคฟันผุ. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์; 2547.

11. วิภาพร ล้อมศิริอุดม. ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ทันตกรรมสำหรับเด็ก). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหาวิทยาลัย;2545.

12. นาถรินทร์ หอสัจจกุล. ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพของแม่ต่อลูกวัย 3 ปีกับสภาวะฟันผุของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย;2539.

13. Karjalainen.S., Soderling,E,sewon, L,lapinleimu, H,Simell,O.A. prospective study on sucrose consumption, visible plaqve and cariesin childen from 3 to 6 year of age Community Pent Oral Epidemiol. Caries Res;2001.

14. นภัสวรรณ เสนาเพ็ง. ความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี ของผู้ปกครองเขตตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น.รายงานศึกษาค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข. สบ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์, สุพรรณบุรี;2550.

15. หฤทัย สุขเจริญโกศล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับปัจเจกของผู้ปกครอง ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-5 ปี ในตำบลออนกลาง กิ่งอำเภอออนกลาง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาทันตกรรมป้องกัน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่;2545.

16. ฉลองชัย สกลวสันต์. บริบทการดำเนินชีวิตของครอบครัวที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลทันตสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาทันตกรรมป้องกัน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่;2547.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)