ความเครียดของผู้ปกครองเด็กในสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเครียด, ผู้ปกครอง, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

          ความเครียดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน การเลี้ยงดูเด็กเล็กอาจ นำมาซึ่งความเครียดของบิดา มารดา ความเครียดของผู้ปกครองที่เลี้ยง ดูเด็ก อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อจิตใจและอารมณ์ของเด็กเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เด็กมีความกลัว และความวิตกกังวลและขัดขวางต่อการเรียนรู้ ของเด็ก

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณา และมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาระดับความเครียดของผู้ปกครองเด็กในสถานรับเลี้ยงและพัฒนา เด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยรวมและจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและเพื่อเปรียบเทียบความ เครียดของผู้ปกครองเด็กในสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ระหว่างผู้ที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลแตกต่าง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมิน ความเครียดของผู้ปกครองเด็กในสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัย เรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ปกครองในสถาน รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 35 คน

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดของผู้ปกครองเด็กในสถาน รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมและจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลอยู่ใน ระดับปกติ เมื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้ปกครองเด็กใน สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิ รินธร จังหวัดขอนแก่น ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส จำนวนบุตรในครอบครัว ปัญหาการตั้งครรภ์ ลักษณะครอบครัว ความเกี่ยวข้องของเด็กกับผู้ปกครอง อายุเด็กที่นำมารับบริการ จำนวนเด็กที่ต้องดูแลในบ้านเดียวกัน ระยะทางจากที่พักถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก พบว่าไม่แตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตัวแปรด้านความเพียงพอ ของรายได้ พบว่ากลุ่มที่มีรายได้เพียงพอและเหลือ เก็บ กับ กลุ่มที่มีรายได้ไม่เพียงพอ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นมากกว่า 99% (p-value = 0.005) และกลุ่มที่มีรายได้เพียง พอและไม่เหลือเก็บ กับ กลุ่มที่มีรายได้ไม่เพียงพอ มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ความเชื่อมั่นมากกว่า 99% (p-value = 0.004) เช่น กัน แต่กลุ่มที่มีรายได้เพียงพอและเหลือเก็บกับกลุ่มที่ มีรายได้เพียงพอและไม่เหลือเก็บ ไม่มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.625)

References

1. กิตติวรรณ เทียมแก้ว. สภาวะและที่มาของความเครียดของครูที่มาปฏิบัติงานในเขตจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข;2541.

2. จตุพร เพ็งชัย. สุขภาพจิต. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม;2534.

3. ประโยชน์ บุญสินสุข. (2538). ความเครียดกับสุขภาพ, หมอชาวบ้าน 2538;7(164):340-4.

4. ประสาท อิศรปรีดา. จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์;2523.

5. สายทิพย์ แก้วอินทร์. การเรียนรู้อย่างมีความสุขกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.

6. อนิรุทธ์ โพธิ์เพชรเล็บ. การศึกษาความเครียดในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2542.

7. Sumatchara Manachevakul, Tassanee Prasopkittikun, Parnnarat Sangperm. ปัจจัยทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรก. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30(1):53-62.

8. สุบรรณ เปศรี. ความเครียดของบุคลกรสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2544.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)