ผลของโปรแกรมประยุกต์การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปากแบบใกล้ชิดต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กในปกครองของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธาราทิพย์ ก้อนทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
  • จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • ประวิ อ่ำพันธ์ุ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โปรแกรมทันตสุขศึกษา, เด็กก่อนวัยเรียน, การดูแลทันตสุขภาพ, แรงสนับสนุน ทางสังคม, ปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน

บทคัดย่อ

          ปัญหาสุขภาพช่องปากพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ในเด็กก่อนวัยเรียน จะพบมีฟันนํ้านมผุจำนวนมาก ปัญหาหลักของเด็กกลุ่มนี้คือการสูญเสีย ฟันน้ำนมก่อนกำหนดเนื่องจากโรคฟันผุ สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรม การดูแลช่องปากของผู้ดูแลเด็ก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปากแบบใกล้ชิดต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กในปกครอง ของ ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มตัวอย่างประกอบ ด้วย เด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 96 คน และผู้ปกครอง จำนวน 96 คน แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 48 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2556 กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดทำขึ้น เก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม โดยใช้ แบบสอบถามและแบบประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้ปกครองกลุ่มทดลอง มีความรู้เรื่องโรคฟันผุ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพ และการให้แรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเด็กก่อนวัยเรียนมีปริมาณคราบจุลินทรีย์น้อยกว่าก่อนการ ทดลองและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 8.04,95% CI = 0.54 – 0.91)

          โดยสรุปการพัฒนาความสามารถในการดูแล ช่องปากควรใช้เทคนิควิธีการเฉพาะที่มีการดูแลแบบ ใกล้ชิดและใส่ใจอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างให้ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลได้เข้าใจการเรียนรู้แบบเชิงประจักษ์และ มีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุตร หลานอย่างจริงจังและใส่ใจอย่างต่อเนื่อง

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่อง ประดับประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-2550 ประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร:บริษัทสามทรัพย์เจริญจำกัด;2551.

2. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี พ.ศ. 2554 จังหวัดศรีสะเกษ;2554.

3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย มีนาคม. พิมพ์ที่สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2550.

4. อรุณณีย์ ธงสวัสดิ์. การประยุกต์ทฤษฏีแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการส่งเสริมสังคมในการส่งเสริมอนามัยช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.

5. ปรียานุช เพียยุระ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองต่อการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเป้า ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.

6. สุภาภรณ์ นารี. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

7. วาสนา สุคนธ์. การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย. สารนิพนธ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร;2552.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)