การประเมินผลหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, การพยาบาลเฉพาะทาง, พยาบาลเวชปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษา โรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่เข้าอบรมในหลักสูตร จำนวน 64 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์หลักสูตร แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอน และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัย
1. ด้านบริบท วัตถุประสงค์หลักสูตรมีความชัดเจน โครงสร้าง หลักสูตรเป็นไปตามที่กำหนดของสภาการพยาบาล การจัดการเรียน การสอนและวัดประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักสูตร หลักสูตรมีความจำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานในหน่วย บริการปฐมภูมิและสนองตอบความต้องการของสังคม
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าอบรมมี คุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ ปฐมภูมิ (ร้อยละ 81.20) และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานมากกว่า 1 ปี (ร้อยละ 100) ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้มีความเหมาะสมที่ระดับ มาก (M = 4.09, SD. = 0.43) และปัจจัยอาจารย์ผู้สอนมีความเหมาะ สมที่ระดับมาก (M = 4.06, SD. = 0.58)
3. ด้านกระบวนการผลิต การจัดกิจกรรมการเรียนภาคทฤษฎี มีความเหมาะสมที่ระดับมาก (M = 4.17, SD. = 0.53) ภาคปฏิบัติมี ความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุด (M = 4.71, SD. = 0.44)
4. ด้านผลผลิต ผู้เข้าอบรมผ่านเกณฑ์การประเมินผลทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ร้อยละ100 และมีการรับรู้สมรรถนะที่ระดับ มาก (M = 4.18, SD. = 0.41) ผู้เข้าอบรมเห็นว่า การอบรมมีความคุ้ม ค่าต่อการนำไปปฏิบัติที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ระดับมากถึงมากที่สุด (ร้อยละ 96.90)
References
2. ทัศนา บุญทอง. บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการรักษาโรคเบื้องต้นในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ. วารสารสภาการพยาบาล 2550;22(4):24-36.
3. สมจิต หนุเจริญกุล. แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในระบบสุขภาพตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. เชียงใหม่: โรงพิมพ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2546.
4. วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาหลักสูตรและวิธีทางการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2540.
5. นพเก้า ณ พัทลุง. การประเมินหลักสูตร: มิติสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร. วารสารการศึกษากทม 2548; 28(11).
6. บุญชม ศรีสะอาด. การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น;2546.
7. สุนีย์ ภู่พันธ์. แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์;2546.
8. พิสณุ ฟองศรี. เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: บริษัทพรอพเพอร์ตี้พริ้นท์จำกัด;2550.
9. Stufflebeam DL. The CIPP model for evaluation. Oregon: Annual Conference of the Oregon Program of the Evaluators Network (OPEN) [cited 2014 July18]. Available from http://www.scribd.com/doc/58435354/The-Cipp-Model-for-Evaluation-by-Daniel-l-Stufflebeam
10. จันทิมา นิลจ้อย. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2547.
11. สภาการพยาบาล. ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์;2545.
12. สภาการพยาบาล. คู่มือการใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์;2545.
13. อุบลรัตน์ โพธิ์พัฒนชัย. รายงานการวิจัย เรื่อง การนำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา;2546.
14. ฉลองรัฐ อินทรีย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินหลักสูตรและติดตามผลการปฏิบัติงานของ ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2529.
15. ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การติดตามประเมินผลผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) รุ่นที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี;2550.
16. ศิริอร สินธุและคณะ. ความพึงพอใจของผู้รับบริการการรักษาพยาบาลเบื้องต้นโดยพยาบาลเวชปฏิบัติ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารสภาการพยาบาล 2547;19(4 ):1-14.
17. Torn A, Mcnichol E. A qualitative study utilizing a focus group to explore the role and concept of the nurse practitioner. Journal of Advanced Nursing 1998;27:1202-1211.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล