ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ แย้มสี -
  • สุภา เพ่งพิศ Professor, Department of Health Education and Behavioral Sciences, Faculty of Public Health, Mahidol University
  • อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข รองศาสตราจารย์ หน่วยส่งเสริมโภชนาการและสุขภาวะ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ, อสม., สภาวะช่องปาก

บทคัดย่อ

พฤติกรรมสุขภาพมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม รวมถึงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของ อสม. ในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 410 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage cluster Sampling) เก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบสำรวจสภาวะช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์โดยสถิติไคสแควร์ และสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเพียงพอ (ร้อยละ 28.4) สภาวะช่องปากในระดับดี (ร้อยละ 59.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา ปัจจัยนำ เอื้อ เสริม (p-value <0.001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็น อสม.

ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐและหน่วยงานทันตสาธารณสุข ควรจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงการบริการทันตกรรม มีการอบรมเสริมสร้างการรับรู้ปัญหาทันตสุขภาพและรับรู้ประโยชน์ของการดูแลทันตสุขภาพใน อสม.อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

References

United Nation. Political declaration of the high-level meeting of the General Assembly on the prevention and control of non-communicable diseases. Resolution A/66/L1. New York: United Nation General Assembly; 2011.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

แก้วใจ มาลีลัย, ปณวัตร กิ่งมาลา, ชาลินี พสุนนท์ ธณัติฐา แก้วกันยา, วัชรพงษ์ เบญมาตย์, อัมพิกา พ่อบาล และคณะ. ความรู้และเจตคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6(4): 51-60.

รุ่งเพ็ชร บุญทศ, จริญาณี สวัสดี, จันทร์จิรา อุดมผล, ธัญชนก สงแจ้ง, ศิณารักษ์ บุญศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 2563; 31(2): 65-76.

Lawrence WG, Andrea CG, Judith MO, Darleen VP, Marshall WK. Health Program Planning, Implementation, and Evaluation: Creating Behavioral, Environmental, and Policy Change. Maryland: Johns Hopkins University Press; 2022.

ปณิตา ครองยุทธ, จิราวรรณ แผ่นจันทร์, ภานุมาส เครือคำ, วิมลรัตน์ ฉิมพลีพันธุ์. พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564; 1(1): 47-60.

มนัสนันท์ ชัยประทาน, สมเดช พินิจสุนทร. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันโรคฟันผุ ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(3): 357-66.

ระบบสารสนเทศงานด้านสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน [อินเตอร์เน็ต]. รายงานจำนวน อสม.จำแนกตามระดับการศึกษา ตามจังหวัด /อำเภอ /ตำบล. [เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/thaiphcweb/index.php?r=staticContent/show&id=1

Wayne WD. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed). Wiley. 1995; p.180.

ดาวรุ่ง เยาวกูล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(1): 257-72.

Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. North Carolina: Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia. 1968; p.1-12.

สุภาพร ผุดผ่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563; 4(1): 101-19.

Becker MH, Drachman RH, Kirscht JP. A new approach to explaining sick-role behavior in low-income populations. Am J Public Health. 1974; 64(3): 205-16.

Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, Partridge KB. Health education planning: A diagnostic approach. California: Mayfield Publishing Company; 1980.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์. 2548; หน้า 8.

สุธาสินี สมานชาติ, ฉวีวรรณ บุญสุยา, คัติยา อีวาโนวิช. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลเทศบาลเมือง สาขาโรงพยาบาลสระบุรี. Thai Journal of Public Health (THJPH). 2565, 52(2): 154-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)