การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สร้อยสุรินทร์ น้อยบุดดี นิสิตสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงครามชัย ลีทองดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุระ วิเศษศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การมีส่วนร่วม, การดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการมีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาประสิทธิผลการพฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และเครือข่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวิยเรียนตำบลปะหลานหมู่ที่ 13 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหัดมหาสารคาม ด้วยการคัดเลือกแกนนำชุมชนจากกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน จำนวน 30 คน โดย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และ ใช้เทคนิคแนวคิดเทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม รวมทั้งการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการทดสอบ Paired Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่เกิดจากแกนนำชุมชนที่เข้า ร่วมการวิจัยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอนตามกำหนดไว้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทและข้อมูลพื้นฐานสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การศึกษาดูงานการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ แบบชุมชนมีส่วนร่วม 3) การประชุมเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) การปฎิบัติตามแผน 5) ประเมินผลการดำเนินงาน 6) การสรุป บทเรียน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า คะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วม ก่อนและหลังการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนมีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง

          โดยสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้คือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมใน การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนแนวทางปฎิบัติที่เหมาะสมกับพื้นที่ เกิดนวัตกรรมธงสีเปลี่ยนฟัน ซึ่งอาจนำไปประยุกตํใช้ใน การพัฒนาในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ 

References

1. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พฤษภาคม 2556.รายงานผลการสำรวจสุขภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ 2555.

2. จอนสัน พิมพสาร และวิไลวรรณทองเกิด . การมีส่วนร่วมของชุมชนในการการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ว.ทันต.สธ.2551;13(3):72-80.

3. พัชญ์สิตา พงศธรภูริวัฒน์.ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา พ.ศ 2555.

4.วัชราภรณ์ เชื่อมกลาง. การพัฒนาศักยภาพการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนพิทักษ์ภูเบนทร์ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (บศ.) 13 (1) : ม.ค – มี.ค 2556.

5. พิกุลพร ภูอาบอ่อน.การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อบต.หนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2554 – มีนาคม 2555.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)