ปัจจัยส่วนบุคคล สภาวะช่องปาก กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ของประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

ผู้แต่ง

  • เกตชดา โพธิรุกข์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัชรินทร์ คำภูวรรณ นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
  • ศาสวัติ สุรำไพ นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสนพัน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
  • วรุตม์ จินดาเวชช์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, สภาวะช่องปาก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาวะช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในเขตบริการสุขภาพโรงพยาบาลประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (OHIP-14) และการตรวจช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple logistic regression analysis) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 คน อายุเฉลี่ย 60.09 ± 10.63 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 14.23 ซี่/คน รากฟันผุ 0.33 ซี่/คน มีร่องลึกปริทันต์ 4-5 มม. เฉลี่ย 1.18 ส่วนของช่องปาก/คน และมีร่องลึกปริทันต์ 6 มม.ขึ้นไป เฉลี่ย 0.11 ส่วนของช่องปาก/คน คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OHIP-14) เท่ากับ 10.53±10.04 สภาวะช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก คือ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (Adjusted OR 0.24; 95%CI 0.08-0.70, p-value 0.009) และสภาวะของรากฟัน (Adjusted OR 4.15; 95%CI 1.15-14.90, p-value 0.029) จากผลการศึกษานี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่มีฟันผุ ถอน อุด ตั้งแต่ 10 ซี่ขึ้นไปจะมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากแย่ลง ส่วนการมีรากฟันผุและ/หรือสึกทะลุโพรงประสาทฟันเป็นปัจจัยที่น่าสนใจ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

References

Sischo L, Broder HL. Oral health-related quality of life: what, why, how, and future implications. J Dent Res. 2011; 90(11): 1264-70.

Jokovic A, Locker D, Stephens M, Kenny D, Tompson B, Guyatt G. Validity and reliability of a questionnaire for measuring child oral-health-related quality of life. J Dent Res. 2002; 81(7): 459-63.

Jokovic A, Locker D, Tompson B, Guyatt G. Questionnaire for measuring oral health-related quality of life in eight- to ten-year-old children. Pediatr Dent. 2004; 26(6): 512-8.

Gherunpong S, Tsakos G, Sheiham A. Developing and evaluating an oral health-related quality of life index for children; the CHILD-OIDP. Community Dent Health. 2004; 21(2): 161-9.

Atchison KA, Dolan TA. Development of the Geriatric Oral Health Assessment Index. J Dent Educ. 1990; 54(11): 680-7.

Slade GD, Spencer AJ. Development and evaluation of the Oral Health Impact Profile. Community Dent Health. 1994; 11(1): 3-11.

Adulyanon S, Vourapukjaru J, Sheiham A. Oral impacts affecting daily performance in a low dental disease Thai population. Community Dent Oral Epidemiol. 1996; 24(6): 385-9.

Slade GD. Derivation and validation of a short-form oral health impact profile. Community Dent Oral Epidemiol. 1997; 25(4): 284-90.

Nammontri O. Validation of the Thai version of the 14- item Oral health impact profile (Thai OHIP-14) amongst the general Thai adult population in a community setting. J Health Res. 2017; 31(6): 481-86.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2567.

Deana NF, Pardo Y, Ferrer M, Espinoza-Espinoza G, Garin O, Muñoz-Millán P, et al. Evaluating conceptual model measurement and psychometric properties of Oral health-related quality of life instruments available for older adults: a systematic review. Health Qual Life Outcomes. 2024; 22(1): 5.

Azami-Aghdash S, Pournaghi-Azar F, Moosavi A, Mohseni M, Derakhshani N, Kalajahi RA. Oral Health and Related Quality of Life in Older People: A Systematic Review and Meta-Analysis. Iran J Public Health. 2021; 50(4): 689-700.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. 2552; หน้า 160.

นุจรี พาณิชย์เจริญรัตน์, เสมอจิต พิธพรชัยกุล, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของพลทหารแรกเข้าภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารทันตแพทยศาสตร์. 2562; 69(2): 209-16.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

มูลนิธิทันตนวัตกรรม. แผนทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565. ประเทศไทย; 2557.

Mohd SI, Rajali A, Nik Z, Nik R, Hussein KH, Wan H, et al. Prevalence of Dental Caries and Their Relation to Oral Health Impact Profile (OHIP-14) among National Contact Sports Athletes: A Cross-Sectional Study. Journal of International Oral Health. 2021; 13(6): 593-600.

Alsaif AA, Alkhadra TA, AlJameel AH. Impact of DMFT, PUFA, DAI, and TDIs on Oral Health-Related Quality of Life (OHRQoL) Among Foundling, Delinquent, and Mainstream School Children: A Prilimenary Study. Front Public Health. 2022; 10: 894638.

อรฉัตร คุรุรัตนะ, ฐิติมา เตียววัฒนวิวัฒ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ ทันตสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559; 10(2): 115-26.

Zeng X, Sheiham A, Tsakos G. Relationship between clinical dental status and eating difficulty in an old Chinese population. J Oral Rehabil. 2008; 35(1): 37-44.

สิริพร สาสกุล, สุวัฒน์ ตันยะ, พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์. คุณภาพชีวิตมิติสุขภาพช่องปาก กับจำนวนฟันที่เหลือในช่องปากของผู้สูงอายุไทยในชนบท ภาคเหนือ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2564; 20(1): 1-10.

กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2560; 16(2): 45-56.

พัชรี เรื่องงาม. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2564; 18(2): 130-41.

Joseph AG, Janakiram C, Mathew A. Prosthetic Status, Needs and Oral Health Related Quality of Life (OHRQOL) in the Elderly Population of Aluva, India. J Clin Diagn Res. 2016; 10(11): ZC05-ZC09.

สุเทียน แก้วมะคำ, อารีย์ แก้วมะคำ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้าน ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2561; 10(1): 37-47.

Bernabe E, Marcenes W. Periodontal disease and quality of life in British adults. J Clin Periodontal. 2010; 37(11): 968-72.

An R, Li S, Li Q, Luo Y, Wu Z, Liu M, Chen W. Oral Health Behaviors and Oral Health-Related Quality of Life Among Dental Patients in China: A Cross-Sectional Study. Patient Prefer Adherence. 2022; 16: 3045-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)