พืชผักและสมุนไพรเพื่อสุขภาพในช่องปากที่ดี

ผู้แต่ง

  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • อมร วัฒนธีรางกูร วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พืชผัก, สมุนไพร, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

           พืชผักและสมุนไพรนานาชนิดที่มีในประเทศไทย มีมากมาย หลายชนิด ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์และหาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไป ทั้งที่เป็นพืชผลผักสวนครัว นานาพรรณไม้และสมุนไพรที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรา วิธีการใช้เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ใช้สืบทอดกันมา ควรค่า ต่อการเก็บรักษาความรู้นั้นเพื่อใช้ในชนรุ่นหลังได้อย่างยั่งยืนสืบไป บทความนื้ได้รวบรวมสมุนไพรและเรียบเรียงคุณค่าและสรรพคุณ ของสมุนไพรในการนำมาใช้ให้เกิดผลดีต่อทันตสุขภาพและสุขภาพ ของช่องปากด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนำไปดื่ม กิน เคี้ยว สับ ตำ หรือโขลกพืชผักและสมุนไพรเหล่านั้น แล้วใช้อุดในโพรงหรือซอก ฟัน อมในปาก หรือทาที่เหงือกและแผลในช่องปาก เป็นต้น ผลการ รวบรวมและเรียบเรียงสมุนไพรเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีตาม สรรพคุณของสมุนไพรเหล่านั้นสามารถจดเป็นกล่มได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) สมุนไพรที่ช่วยส่งเสริมและป้องกันให้เหงือกและฟันมีสุขภาพที่ดี 2) สมุนไพรกลุ่มที่ช่วยรักษาโรคในช่องปาก เช่น อาการปวดฟัน เจ็บเหงือก ปวดแสบปวดร้อนจากปากเปื่อยและเป็นเริม ให้ทุเลา เบาบางจากความเจ็บปวดและ 3) กลุ่มสมุนไพรที่ช่วยฟื้นฟูสภาพใน ช่องปากให้ทำหน้าที่ได้การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้และเป็น ประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันตนให้ห่างไกลจากการเกิดโรคต่างๆ ได้อย่างดีนั้นคือการให้สุขศึกษาและทันตสุขศึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวัน

References

1. 8 อาหารมหัศจรรย์เพื่อฟันสวย. [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 8 เม.ย.2557] จาก http://health.kapook.com/view45893.html.

2. สุขภาพ การแพทย์แผนไทย สมุนไพร ผู้หญิงและความงาม .สมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์ . [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน.2557] จาก http://www.frynn.com

3. ฐานข้อมูลเครื่องยา สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หมาก [ออนไลน์] 2557. [อ้างเมื่อ 19 กรกฎาคม 2557] จาก: www.thaicrudedrug.com.

4. เรือนไทยเภสัช. สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับฟันและช่องปาก [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 9 เมษายน 2557] จาก www.thaicrudedrug.com.

5. สาระน่ารู้. ดูแลปากและฟันด้วยสมุนไพร.อิสรภาพแห่งความคิด ไทยโพสต์.ฉบับ Sunday, 13 December, 2009 [ออนไลน์] 2557. [อ้างเมื่อ 8 เมษายน 2557] จากhttp://www.thaipost.net/node/14881

6. พินิจ จันทร และคณะ. ดื่มเพื่อสุขภาพ.บริษัทฐานการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร;2551.

7. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร ไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หนอนตายหยาก”. หน้า 608.

8. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 14 กรกฎาคม 2557] จาก www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.

9. สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคเหงือกและฟัน www.facebook.com. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 8 เมษายน 2557] จาก http://docthai.com/caries/110-

10. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. http://www.HISO.or.th . สมุนไพรเพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 14 มิถุนายน 2557] จาก http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/herbs/herbindex.html.

11. ผู้จัดการออนไลน์. (นายเกษตร).หมากกับมะเร็งปาก [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 19 กรกฎาคม 2557] จาก www.manager.co.th.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)