การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : โรงเรียนหินโงมวิทยา ตำบลหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง, การพัฒนาศักยภาพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Action Research) โดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) เพื่อ ศึกษาการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของ นักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนหินโงมวิทยา ตำบลหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนนักเรียนที่ สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 43 คน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทน ผู้นำชุมชน ตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 21 คน เครื่องมือ ที่ใช้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่าความ เที่ยงด้านความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ใช้วิธีการของ Kuder-Richardson (KR-20) ได้ค่าความเที่ยงคือ 0.87 ด้าน ทัศนคติและการปฏิบัติตนใช้วิธีการ Cronbach’Method ได้ค่า Coefficient of Alpha คือ 0.89 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows นำเสนอ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าคะแนนและตํ่า และสถิติเชิงอนุมาน ด้านความรู้และการปฎิบัติใช้ Paired t-test และ ด้านทัศนคติ ใช้ Wilcoxon match pair signed-rank test ทีระดับนัยสำคัญ 0.05 และ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพ ช่องปากตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยด้านความรู้ เท่ากับ 14.51 คะแนน หลังพัฒนาศักยภาพมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้เท่ากับ 19.02 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำศัญทางสถิติ (p-value < 0.001 ที่ 95% CI=3.81 ถึง 5.22) ด้านนัศนคติ พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีค่าม้ธยฐานเท่ากับ 30 คะแนน หลัง พัฒนามีค่าม้ธยฐานเท่ากับ 37 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=5.313, p-value < 0.001) ด้านการปฎิบัติ ก่อนการพัฒนาคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.63 คะแนน หลังพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 38.12 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=17.74, p-value < 0.001 ที่ 95% CI=8.95 ถึง 12.05) ในการตรวจคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน โดยการย้อมสีฟันพบว่าก่อนพัฒนามีปริมาณแผ่นคราบ จุลินทรียํในระดับปานกลาง ( = คือ 2.60) หลังจากพัฒนา ส่วนใหญ่มีแผ่นคราบจุลินทรีย์เล็กน้อย (=1.13) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=14.812, p-value <0.001 ที่ 95%CI=1.11 ถึง 1.46) ผลการจัดประชุมการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม โดยเทคนิคกระบวนการ A-I-C ได้โครงการ 5 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการจัดทำสื่อทันตสุขศึกษา 2) โครงการพบหมอฟันกันเถอะ 3) โครงการอบรมนักเรียนเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของนักเรียน (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย) 4) โครงการประกวดคู่หูฟันดี 5) โครงการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของนักเรียนได้ดำเนินการแล้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ชุมชน เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของ นักเรียน โดยการให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และมีส่วนช่วยกระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปาก ตนเองของนักเรียนขณะนักเรียนอยู่ที่บ้าน และสามารถน่าเทคนิคกระบวนการ A-I-C ไปแก้ปัญหาสุขภาพอื่นต่อไป
References
2. ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา;2543.
3. ประภาเพ็ญ สุวรรณ และ สวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2536.
4. มณีรัตน์ มั่นใจ, สงครามชัย ลีทองดี และ วุฒิไกร มุ่งหมาย. การพัฒนาคุณภาพการจัดบริการเพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2553;15(2):23-33.
5. ผุสดี จันทร์บาง ปิยะดา ประเสริฐสม และ ปราณีเหลืองวรา. โครงการพหุภาคีเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคอ่อนหวานเด็กนักเรียน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2555;17(2):31-43.
6. สิทธิโชค วรานุสันติกุล. จิตวิทยาสังคม ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น;2552.
7. เสมอจิต พิธพรชัยกุล วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ วาลี ชูคดี และ ภัทราภรณ์ หยงสตาร์. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดสงขลา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2553;60(1):22-31.
8. สำนักทันตสาธารณสุข. การเปรียบเทียบผลการตรวจสภาวะระดับประเทศครั้งที่ 2-7. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 6 มิถุนายน 2556] จาก http://www.anamai.ecgates.com/userfiles/file/Q12-15.pdf
9. หยกภรณ์ ฆารสินธุ์ และพรทิพย์ คำพอ (2556). การพัฒนาศักยภาพนักเรียนประถมศึกษาในการป้องกันโรคฟันผุ: โรงเรียนบ้านกุดกว้างหนองดินกี่หนองกุงประชาสรรค์ ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 2556;13(1):112-122.
10. World Health organization [WHO]. Oral health. [homepage on the Internet]. 2012. [cited 2013 June 20]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs318/en/index.html
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล