การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังทันตสาธารณสุขในชุมชน กรณีศึกษาบ้านโนนแดง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สมพร แก้วทอง นิสิตปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเฝ้าระวัง, ทันตสาธารณสุข, อนามัยชุมชน

บทคัดย่อ

          การเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ เป็นการดำเนินงานที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันปัญหาทางทันตสุขภาพของประชาชนและมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพในชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานเฝ้าระวังทันตสาธารณสุขในชุมชนโดยผู้มีส่วนในการดำเนินงานได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำนันและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความรู้ด้านการดูแลทันตสุขภาพของตนเอง การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังทันตสาธารณสุขในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติ Pair Sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีสรุปประเด็น และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนาผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวังทันตสาธารณสุขในชุมชนแบบใหม่ในครั้งนี้จะต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนโดยใช้กลไกการเฝ้าระวังโดยบุคคลในชุมชนคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้แสดงบทบาทหลักในระบบการดำเนินงานโดยอาศัยเครือข่ายและทักษะการทำงานในชุมชนที่มีอยู่เดิมมาเสริมให้เกิดกลไกการเฝ้าระวังที่เป็นระบบมากขึ้น และยังพบว่าผลเชิงลัพธ์ปริมาณในกระบวนการนี้ส่งผลให้ ความรู้ด้านการดูแลทันตสุขภาพ การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมด้านการเฝ้าระวังทันสาธารณสุขของผู้เกี่ยวข้องในชุมชนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุป รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังทันตสาธารณสุขในชุมชนมีความจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน โดยใช้ศักยภาพและฐานทุนเดิมของกลไกที่มีอยู่ในชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานเฝ้าระวัง ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนมากขึ้น

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549 – 2550. กรุงเทพฯ: องค์การทหารผ่านศึก;2551.

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่. รายงานสรุป ทส.002. งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่;2554.

3. สมพร แก้วทอง. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย) หลักสูตรทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี;2553.

4. องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบงานวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2554.

5. ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์;2552.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)