การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมของ บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม, บุคลากรสาธารณสุข, หน่วยบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมของ บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและความจำเป็นเร่งด่วน ในการพัฒนาด้าน ความรู้ และทักษะตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในหน่วยบริการ ปฐมภูมิ และศึกษาความแตกต่างของความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ด้านความรู้ และทักษะ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในหน่วย บริการปฐมภูมิ ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วย บริการปฐมภูมิ ทุกเขตตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2,486 คน ได้จากการสุ่มแบบ Cluster sampling โดยแยกเป็นเขตการ ตรวจราชการ และสุ่มจังหวัดที่ศึกษาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามแยกตามกลุ่มประเภทของบุคลากร ข้อมูลวิเคราะห์โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ One-way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรทุกตำแหน่งในหน่วย บริการปฐมภูมิมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ความรู้และทักษะ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานทั้งด้าน บริหาร วิชาการ บริการและอื่นๆ โดยมีความจำเป็นเร่ง ด่วน ในการพัฒนาความรู้และทักษะตามมาตรฐานการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานทันตสาธารณ สุข ต้องการพัฒนาความรู้เป็นอันดับแรก ได้แก่ การวิจัย สร้างนวตกรรม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CQI) ส่วนพยาบาลวิชาชีพมีความจำเป็นเร่งด่วนในการ พัฒนาความรู้ด้านการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและ ปัญหาสาธารณสุข สำหรับความจำเป็นเร่งด่วนในการ พัฒนาทักษะนั้น หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิต้องการ พัฒนาด้านการประสานงานในองค์กร กับผู้บังคับบัญชา แต่ละระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กร อื่นที่เกี่ยวข้อง และการมอบหมายงานให้บุคลากรที่ ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ให้สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และได้สัดส่วนกับขนาดประชากรและ ปัญหาพื้นที่รับผิดชอบ นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้า พนักงานสาธารณสุข ต้องการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เร่งด่วนเป็นอันดับแรก คือ การสร้างหรือพัฒนา นวตกรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) พยาบาลวิชาชีพต้องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน ด้านการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาในการ ปฏิบัติงานและปัญหาสาธารณสุขเร่งด่วนเป็นอันดับแรก และเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ต้องการการร่วมทีม สร้างหรือพัฒนานวัตกรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานและ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) เป็นอันดับแรก ส่วนความแตกต่างของความต้องการจำเป็นในการ พัฒนาด้านความรู้และทักษะ ตามมาตรฐานการ ปฏิบัติงาน ของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ผลการศึกษา พบว่า ความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะที่ต้องพัฒนาของ หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ ในด้านบริหาร ด้านบริการ ด้านวิชาการ และด้านอื่นๆ ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ทุกด้านแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value <0.001) ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย วิทยาลัยในสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก ควรเร่งรัดในการพัฒนาหลักสูตรและ ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อใช้ในการพัฒนาและผลิตบุคลากร เพื่อให้บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิมีความรู้และ ทักษะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานต่อไป
References
2. จุรีพร บวรผดุงกิตติ. สภาพปัญหา ปัญหาความต้องการและแนวทางพัฒนาบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2542.
3. จีระ หงส์ลดารมภ์.ทรัพยากรมนุษย์พันธ์ุแท้.[ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 7 กรกฎาคม 2550] จาก gotoknow. org/blog/chirakm/29245 - 841k: ม.ป.ป.
4. บดินทร์ วิจารณ์. เอกสารประกอบการศึกษากระบวนวิชา HU 942 การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์เชิงยุทธศาสตร์บูรณาการ เรื่อง ยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย รามคำแหง,คณะศึกษาศาสตร, ภาคการศึกษาต่อเนื่อง;2550.
5. ดวงใจ ศุภสารัมภ์. เรื่องที่ผู้จัดการโครงการฝึกอบรมควรรู้. [ออนไลน์] 2547 [อ้างเมื่อ 5 กรกฎาคม 2547 ] จาก https://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/hand book/necessity.html.
6. ผุสดี สุทธาเวศ , พรจิต พร้อมเพราะ,รัศมี เพชรโสภณและสุวิชา สังขพันธ์ . สภาพปัญหาและความต้อง การในการเพิ่มความรู้ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. คณะอุตสาหกรรมศึกษา สถาบันราชภัฎพระนคร. กรุงเทพมหานคร;2548.
7. ผจงจิตต์ พิทักษ์ภากร. สาระพัฒน์ 2 พัฒนาคน งาน วิชาการ นวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ. สถาบันพระ บรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร;2541.
8. พัฒนา สุขประเสริฐ . กลยุทธ์การฝึกอบรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร;2550.
9. ไพโรจน์ อุลิต. การฝึกอบรม [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 2 กรกฎาคม 2552] จาก https://it.ripa.ac.th/courseware2/deita/chapter8/c86.html.
10. รุจี จารุภาชน์ . รายงานการวิจัยเรื่อง การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของบุคลากรสาธารณสุขภาคะวันออกเฉียงเหนือ .เอกสาร อัดสำเนา;2547.
11. วันชัย ปานจันทร์ . การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยใช้ฐานการจัดการความรู้ [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 5 กรกฎาคม 2552] จาก www.stou.ac.th/Thai/Grad_stdy/school/shs/DOC/no4/no4- 3.doc.
12. ศิริ วัฒนธีรางกูร ,รุจี จารุภาชน์ , ประภาพร พรหมเดชบุญ และกัลยา ทักษิณาเจนกิจ.รายงาน การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะที่ต้องการของ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์การ บริการส่วนตำบลและเทศบาล. เอกสารอัด สำเนา;2551.
13. สำเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ . ศูนย์ สุขภาพชุมชน หนทางสู่ระบบบริการที่พึง ประสงค์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . นครราชสีมา : บริษัท สมบูรณ์การพิมพ์จำกัด : 2545. http://bps.ops. moph.go.th . ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2552 . http://vclass.mgt.psu.ac.th . ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2552.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล