การสำรวจพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง กรณีศึกษา สถานรับเลี้ยง และพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรยา มณีลังกา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุขุมาล ลิขิตวงศ์ขจร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตสุขภาพ, เด็กก่อนวัยเรียน, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, การสำรวจพฤติกรรม

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง การสำรวจพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง กรณีศึกษา สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณ สุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Crossectional Survey research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็ก ก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

          พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า ร้อยละ 84.40 คุณแม่เป็น ผู้ทำความสะอาดช่องปากให้เด็ก ร้อยละ 96.9 เด็กใช้แปรงสีฟันที่มีขนาด พอเหมาะสำหรับช่องปากเด็ก ร้อยละ 87.10 เด็กใช้แปรงสีฟันขนอ่อนในการ แปรงฟัน ร้อยละ 93.80 เด็กทำความสะอาดช่องปากด้วยวิธีการแปรงฟัน เพียงอย่างเดียว โดยเด็กส่วนใหญ่มีวิธีการแปรงฟันแบบถูไปมาในแนวขวาง ร้อยละ 62.50 ส่วนจำนวนครั้งในการแปรงฟันพบว่า เด็กส่วนใหญ่แปรงฟัน วันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 58.10 เด็กไม่ได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารทันที ร้อยละ 53.10

          การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรความถี่ในการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มของเด็กต่อสัปดาห์ กับตัวแปร จำนวนฟันผุโดยใช้การหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างไม่มีนัย สำคัญทางสถิติ.

References

1.วรยา มณีลังกา และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่อง จากการสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน กรณีศึกษา สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2551.

2.กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ.2549-2550;2551.

3.นันทิยา รัมณีย์รัตนากุล ชลีกุล วงษ์ถาวร และ กัญญารัตน์ มีมุข. ปัจจัยทีมีผลต่อการผุของ ฟันน้ำนมของเด็กที่อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันต.ขอนแก่น 2550;2(2):102-9.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)