ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการ ปวดหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่นเพื่อเป็นแนวทางในการส่ง เสริมให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังที่ดี เป็นทันตบุคลากรที่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็ง มีคุณภาพและประเทศชาติพัฒนาต่อไป นอกจากนี้เพื่อเป็นแนว ทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ แนะนำสถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษาในการส่งเสริม แนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในสถาบันอุดม ศึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษา เชิงพรรณนา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณ สุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น ปีการศึกษา 2553 จำนวน 52 คน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2553 ร้อยละ 34.62 มีความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังอยู่ในระดับดีมาก และมีความ รู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังอยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 30.77 มีทัศนคติเกี่ยวกับอาการปวดหลังอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 57.7 แต่ ไม่มีกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติในระดับมากที่สุดและน้อยที่สุดเลย มีพฤติกรรม ในการป้องกันอาการปวดหลังอยู่ในระดับปานกลาง คือร้อยละ 76.92 และ มีพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดหลังอยู่ในระดับดี ร้อยละ 23.08 และ เฉลี่ยมีพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดหลังเท่ากับ 2.35 อยู่ในระดับ ปานกลาง แต่ไม่พบกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดหลัง อยู่ในระดับมาก และไม่ดี และมีระดับความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังของกลุ่ม ตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลัง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(r) เท่ากับ 0.174 และทัศนคติเกี่ยวกับอาการปวดหลังมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลัง อย่างไม่ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) เท่ากับ 0.116

References

1.สุรศักดิ์ ศรีสุขและเล็ก ปริวิสุทธิ์และนวลอนงค์ ชัยปิยะพร. ปวดหลัง. พิมพ์ครั้งที่7 กรุงเทพ:หมอชาวบ้าน;2550.

2. ดลิน ปิ่นน้อยและคณะ. (2548).การสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดอาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง . www.ns.mahidol.ac.th/fongcum/index_files/RU/ว%206.%20ปิยะนุช.doc

3. เจริญ โชติกวณิชย์. หลายคำถามที่เกี่ยวกับอาการปวดหลัง.2552 [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 16 ตุลาคม 2552] จาก http://www.si.mahidol.ac.th/department/orthopedic/home/p%20qt%20backp.htm

4. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. (2550). หลักสูตรปวส.ส.ศ.ทันตสาธารณสุข;2550.

5. Bloom, Benjamin S. Taxonomy of Educational Objectives(Cognitive Domain). New york: David Mckey;1967.

6. จีราภรณ์ พลไชย. ประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ใช้แรงงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)สาขาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2540.

7. ณิชาพัฒน์ ชิระพลเศรษฐ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการควบคุมและลดน้ำหนักของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)