เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทันตกรรมป้องกันด้วยวิธี การสอนแบบบูรณาการ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วรยา มณีลังกา ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน, การสอนแบบบูรณาการ, ทันตกรรมป้องกัน, เจตคติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการสำรวจเจตคติและผลสัมฤทธิ์ในการเรียน วิชาทันตกรรมป้องกัน ด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 65 คน โดยมีวัตถุประสงค์ ของการวิจัยเพื่อสำรวจผลการ จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาพื้นฐาน ประยุกต์และหมวดวิชาชีพที่มีต่อเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ทันตกรรมป้องกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจและพัฒนา (Survey Research and Development) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพ การสอนโดยระบบสารสนเทศ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัด ขอนแก่น ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ T-score ผลการศึกษาพบว่า จำนวนนักศึกษาตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อ วิธีการสอนแบบบูรณาการวิชาทันตกรรมป้องกัน 57 คน จากทั้งสิ้น 65 คน คิดเป็น ร้อยละ82.61 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการในวิชาทันตกรรมป้องกันเท่ากับ 4.39 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64) แสดงว่า นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาทันตกรรมป้องกัน ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ A, B+ ,B ,C+ และ C จำนวนนักศึกษาได้ เกรด B+ มีมากที่สุด คือ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 33.85 ได้เกรด A เท่ากับเกรด C จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 เกรด B จำนวน 17คน คิดเป็นร้อยละ 26.15 เกรด C+ จำนวน12 คน คิดเป็นร้อยละ 18.46 ไม่มีนักศึกษาสอบไม่ ผ่าน จากแบบสอบถามปลายเปิด พบว่า นักศึกษา มีความพึงพอระดับมาก มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาทันตกรรมป้องกัน เช่น เรียนสนุก ไม่ง่วงไม่เบื่อ ชอบอาจารย์ผู้สอนทำให้เข้าใจง่าย เชื่อมโยงได้ฝึกปฏิบัติจริง มีอุปกรณ์เสริม การเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำงานด้านทันตกรรม ป้องกันได้ดีต่อไป

References

1. รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด และวรยา มณีลังกา. เจตคติต่อการเรียนการสอนวิชาทันตกรรมป้องกันของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 (ม.ป.ท.);2554.

2. กรมวิชาการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ;2544.

3.บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.;2530.

4. ศักดิ์ชัย เสรีรัตน์. วิจัยในชั้นเรียนปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนวิชา อินทรีเคมี ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเภสัชศาสตร์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร ปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยสยาม [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ14 กรกฎาคม 2555] จาก http://tldc.siam.edu/attachments/048_sci-003.pdf

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)