ความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษาของบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราช ชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ศิรินภาดล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ธณัฏฐ์ภรณ์ กุลแสนเตา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • อุดมลักษณ์ กาญจนรังสิชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปิยะรัตน์ แสงบำรุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการมีส่วน ร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร และนักศึกษา เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาของบุคลากร จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ในการทำงาน และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการมีส่วน ร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาจำแนกตาม ชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์และ ข้าราชการสายสนับสนุน จำนวน 63 คน นักศึกษา ชั้นปีที่ 2- 4 จำนวน 307 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test for independent samples) และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ F- test (One –way ANOVA)

          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมระดับมาก (= 3.81,S.D.= .70) นักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมามีความพึงพอใจ ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวม ระดับมาก (= 3.94,S.D.= .45) บุคลากรที่มีอายุ และประสบการณ์ แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกัน คุณภาพ ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% บุคลากรที่มี วุฒิการ ศึกษา แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประกันคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05) นักศึกษาที่ ชั้นปี แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05)

          ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลควรสนับสนุน และส่ง เสริมให้บุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี และนักศึกษา ทั้งในและนอกหน่วยงาน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ จะนำไปสู่การมีส่วน ร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น และเกิดวัฒนธรรมในการทำงานโดยนำแนวทางของ การประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ต่อไป

References

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี;2540.

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) : ฉบับสรุป / สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี;2553.

3. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์;2546.

4. ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงแก้ไข. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2538.

5. ทองใบ สุดชารี. ทฤษฎีองค์การ : วิเคราะห์แนวความคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ . อุบลราชธานี : ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี;2543.

6. เนตรรุ้ง อยู่เจริญ. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2553.

7. เมธิณี เกตวาธิมาตร. ความรู้ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สระบุรี. สระบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี;2553.

8. Khalid Al Safi Al Haribi. The effect of external quality assurance on students’ learning experience. Paper presened at INQAAHE Biennial Conference 29 March-April 2005 Quality, assurance & Diversity Willington, New Zealand ; 2005.

9. Maria Jose Lemaitre, Daniela Torre, Gonzalo Zapata and Elisa Zenteno. (n.d.). Impact of quality assurance on university work. An overview in seven Iberoamerican countries. [online] 2012 [cited 2012 Oct 12]. Available from http://www.copaes.org.mx/home/docs/docs_Proyecto_ALFA_CINDA/ Impact%20of%20QA%20processes%20in%20LA%20-%20Lemaitre%20et%20al.pdf.

10. ธัญญมล สุริยานิมิตสุข และคณะ. การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา. ชลบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดชลบุรี;2548.

11. เพ็ญศรี จึงธนาเจริญเลิศ และ ภัชญา ธงศิลา. ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากรต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. สระบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี;2553.

12. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. การวิจัยกับการพัฒนาการเรียนรู้. วารสารวิชาการ 2545;2(45):75.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)