การพัฒนาทันตะจิ๋วเพื่อการเฝ้าระวังโรคฟันผุในฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านโสกเสี้ยวแสนสุข ตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กิ่งกาญจน์ ขุนสอน
  • ศิรินาถ ตงศิริ
  • สุมัทนา กลางคาร

คำสำคัญ:

การพัฒนาทันตะจิ๋ว, การเฝ้าระวัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทันตะจิ๋วเพื่อการเฝ้าระวังโรคฟันผุในฟันแท้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโสกเสี้ยวแสนสุข ตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวนจังหวัดขอนแก่น ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสังเกต การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทันตะจิ๋วเพื่อการเฝ้าระวังโรคฟันผุในฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านโสกเสี้ยวแสนสุข ประกอบด้วย 1) ประชุมปรึกษาหารือปัญหาทันตสุขภาพ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 2) การนำแผนสู่การปฏิบัติโดยการจัดกิจกรรมในโรงเรียน 3) สัมภาษณ์ความรู้ความเข้าใจในการร่วมกิจกรรมการเฝ้าระวังโรงฟันผุในฟันแท้ และสังเกตพฤติกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคฟันผุ  4) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคฟันผุในฟันแท้ มีระดับการมีส่วนร่วมด้านการเฝ้าระวังโรคฟันผุในฟันแท้ของนักเรียน สูงกว่าก่อนการดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value<0.05) ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ การจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อย เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างได้ซักถามและเสนอแนะข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

References

1. ณัฐวุฒ แก้วสุทธา. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น .สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. แผนงานทันตสาธารณสุขตามแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2556.

2. กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระกับประเทศครั้งที่ 7 พ.ศ.2555.กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2555.

3. กิ่งกาญจน์ ขุนสอน. โครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี. ขอนแก่น;2556.

4. กองทันตสาธารณสุข.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กวัยประถมศึกษา การดำเนินงานกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพของนักเรียนที่ครูทำได้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;มีนาคม 2531.

5. ภัทร์ธิราบุญเสริมส่ง. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี.[ปริญญานิพนธ์กศ.ม.] (สุขศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2553.

6. ศรีไศลเกษศิริโยธิน.การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพโรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข์อำเภอขุนหาญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)