ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทันตสาธารณสุข รุ่นที่ 1วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
: กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 6 ด้านของบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข รุ่นที่ 1เก็บข้อมูลผู้ใช้บัณฑิตจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าระดับ“ความคาดหวัง”ที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับ มากถึงมากที่สุดโดยด้านที่คาดหวังในระดับ มากที่สุด คือ ด้านที่ 1 คุณธรรม จริยธรรมในประเด็นย่อย “มีความซื่อสัตย์สุจริต(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)” “มีจิตสาธารณะ เสียสละ (ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)” “ให้บริการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.62)” “มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและรักษามาตรฐานวิชาชีพ(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.62)” ด้านที่ 2 ความรู้ ประเด็นย่อย “มีความรู้เกี่ยวกับการประเมินสภาวะเสี่ยงคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากได้อย่างเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)”“มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนงาน/โครงการการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการที่กำหนด และการประเมินผลงาน/โครงการ(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)” ด้านที่ 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบประเด็นย่อย “มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)” “สามารถปฏิบัติงานด้วยตนเอง และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้(ค่าเฉลี่ย 4.53±0.51)” ส่วนระดับ“ความพึงพอใจ”ของผู้ใช้บัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั้ง 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ทั้งหมดโดย ด้านที่ 1 คุณธรรม จริยธรรมมีความพึงพอใจสูงที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.30±0.62) รองลงมาคือด้านที่ 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ(ค่าเฉลี่ย 4.25±0.68)สำหรับ ระดับ “ความพึงพอใจ ในประเด็นย่อย” ของทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับ มาก ยกเว้น ด้านที่ 6 ความเป็นนักปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงด้านทันตสาธารณสุข ประเด็นย่อย “นำเสนอผลงานวิจัยเพื่อการขยายผลหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้” มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย3.31±0.95)
References
2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. “ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒” [ออนไลน์] 2556. [อ้างอิงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2556] จาก http://www.academic.chula.ac.th/Qa_Curr/TQF/qualification_ST.pdf
3. สุนทรี ขะชาตย์ , ศิริขวัญ พรหมจำปา. การศึกษาติดตามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2552 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. สถาบันพระบรมราชชนก;2554.
4. มณีรัตน์ จิรัปปภา. ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่น 33วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ปีการศึกษา 2548.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ สถาบันพระบรมราชชนก;2550.
5. อโนชา ศิลาลัย, วงศ์วฤณ พิชัยลักษณ์ และคณะ.ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) รุ่นที่ 30.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2554.
6. อโนชา ศิลาลัย, วงศ์วฤณ พิชัยลักษณ์ และคณะ.ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) รุ่นที่ 33.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2556.
7. วิไลศักดิ์ บัวแย้ม. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต โครงการร่วมผลิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก และมหาวิทยาลัยนเรศวร.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก;2551.
8. สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง (KMITL Information Technology Journal) ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน2555)จาก http://journal.it.kmitl.ac.th/read.php?article_id=4fc7969f1698b87278000000. วันที่ 20มกราคม 2557
9. เกียรติบังอร จินดากุล, บุญเอิบ เขตต์สาคร.ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) ที่สำเร็จการศึกษา ปี พ.ศ.2545, 2546 และ 2547 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี;2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล