รูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชน
คำสำคัญ:
รูปแบบความร่วมมือ, องค์การบริหารส่วนตำบล, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร, การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชน 2) รูปแบบความร่วมมือฯ 3) ผลการยืนยันรูปแบบความร่วมมือฯ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่กลุ่ม ได้จำนวนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ทั้งสิ้น 7 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 28 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย บุคลากรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 112 คน และบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 112 คน รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างและแบบสอบถามเกี่ยวกับความร่วมมือฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ วิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เส้นทางเชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชนประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ1) บทบาทหน้าที่ 2) บรรยากาศการทำงานและความไว้วางใจกัน 3) การทำงานเป็นทีม 4) โครงสร้างของทีม 5) การดำเนินงาน และ 6) การจัดสรรทรัพยากรและบุคคลเข้าทำงาน
- รูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชนซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทางและมีความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สำคัญ 6 ปัจจัย สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย
- ผลการยืนยันรูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับชุมชนตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
References
2.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพ;2550.
3. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครูแห่งชาติ. (กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ;2541.
4. ธนวัชร ชำนาญสิงห์. การดำเนินงานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์);2554.
5. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนก (พ.ศ. 2545 – 2558). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กรุงเทพ;2554.
6.World Health Organization (WHO). Primary Health Care Report of The International Conference on Primary Health Care. (Alma Ata, 6-12 September 1978 Geneva: World Health Organization;1987.
7. Deuis,B., &Hubert,S. Collaborative learning in an educational robotics environment. Computers in Human Behavior,September 2001.
8. Lenning, O. T., &Ebbers, L. H. The powerful potential of learning communities: Improving education for the future. ASHE-ERIC Higher Education Reports;1999.
9. White, G. W., Developing and systematically implementing participatory action research1,1.(Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 2004.
10.Vangen, Siv and Huxham, Chris.Introducing the theory of collaborative advantage. In: Osborne, Stephen P.ed. The New Public Govenance Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. London: Routledge;2010.
11.Thomson and Perry. Collaboration Processes: Inside the Black Box.Public Administration Review December ,2006.
12.Sonnenburg,S. Creativety in Communication A Theoretical Framework for Collaborative Product Creation. Blackwell Publishing Ltd;2004.
13.Phahlamohlaka, J., & Friend, J. Community planning for rural education in South Africa;2004.
14.Weltch, M., &Tulbert, B..Practitioner’s Perspective of Collaboration: A Social Validation and Factor Analysis. Journal of Educational and psychological consultant;2000.
15.Agranoff and MacguireAgranoff, R. and M.McGuire.Collaborative Public Management: New Strategies for Local Government . Washington, D.C.:Georgetown University Press;2003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล