ความสำเร็จของการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) : กรณีศึกษา เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอยางตลาดและอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สายัณต์ แก้วบุญเรือง
  • บุญร่วม แก้วบุญเรือง
  • ณิชา แว่นแคว้น

คำสำคัญ:

ความสำเร็จของการดำเนินงาน, เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System)

บทคัดย่อ

          การศึกษาความสำเร็จของการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ กรณีศึกษา: เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอยางตลาด และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานถอดบทเรียนและสรุปรูปแบบของการดำเนินงานเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ ที่ประสบความสำเร็จเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 94 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างอำเภอยางตลาด มีความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานให้บริการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอต่อการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภออยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 (S.D.=0.86) ผู้บริหารมีระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภออยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 (S.D.=0.73) และผู้ปฏิบัติงานให้บริการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ มีระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภออยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 (S.D.=0.86) และกลุ่มตัวอย่างอำเภอกุฉินารายณ์อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 (S.D.=0.72)ระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 (S.D.=0.78) และผู้ปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 (S.D.=0.63) ตามลำดับ และพบว่าความสำเร็จของทั้งสองอำเภอเกิดจากการมีรากฐานการพัฒนามายาวนานเรียนรู้จากแนวคิดการทำงานเชิงรุก การนำบริการเข้าไปในชุมชนไม่ตั้งรับอย่างเดียว มีประสบการณ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือคุณภาพหลากหลาย ภาคีเครือข่ายมีความภาคภูมิใจในการทำงานและวิชาชีพของตนเองมีการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ การมีสัมพันธภาพที่ดี การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทั้งระบบ มองปัญหาสุขภาพในมิติที่กว้าง สอดคล้องกับนโยบาย “เมืองแห่งความสุข” ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้เกิดภาคีเครือข่ายและการเป็นเจ้าภาพร่วมในการสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน

          ข้อเสนอแนะ เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่มีความต่างของบริบท สามารถประสบความสำเร็จและทำงานอย่างมีความสุขได้ ภายใต้ภาคีเครือข่ายที่ดูแลซึ่งกันและกัน ให้คุณค่าในการทำงานร่วมกัน การทำวิจัยที่พื้นที่มีส่วนร่วมเพื่อพัฒนางานประจำ สถานศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ควรบูรณาการแนวคิดเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

References

1. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.บทสรุปผู้บริหารระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System). [ม.ป.ท. :ม.ป.พ.] ;2556.

2. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ.วิถีชุมชน: คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสาธารณสุข;2545.

3. ประเวศ วะสี. ระบบบริบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์.ใน: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, บรรณาธิการ.คู่มือนำทาง Guidebook สำหรับ 7th National Forum. กรุงเทพฯ;2549.

4. ภูดิท เตชาติวัฒน์. มุมวิชาการ 24 DHS การสร้างระบบสุขภาพอำเภอ.มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก;2556.

5. วินัย ลีสมิทธิ์. การศึกษารูปแบบแนวทางระบบบริหารจัดการเขตสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. จุลสาร HSRI FORUM ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 (กันยายน 2556).
6. ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร และคณะ. 2556.การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556 ;1 (3) ตุลาคม – ธันวาคม 2556.

7. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. หมออนามัยหัวใจคือประชาชน. กึ่งศตวรรษแห่งความภาคภูมิใจ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น;2556.

8. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ระบบสุขภาพระดับอำเภอ. กรุงเทพฯ: วารสารคลินิก 2557;30(7 ) กรกฎาคม 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)