การนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร

ผู้แต่ง

  • กริษา โพรามาต มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ว่าที่ พ.ต. ดร.นพดล เจนอักษร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร  2) แนวปฏิบัติการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร และ 3) ผลการยืนยันปฏิบัติการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร  ประชากร โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,420  โรง  ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง  96 โรงเรียน ส่งกลับคืน 90โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 93.75 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร1 คน รองผู้บริหาร 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ  2  คน หัวหน้าฝ่ายงาน  1  คน  รวม  96  โรงเรียน   รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด  480 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ  และวิเคราะห์เนื้อหา   

                ผลการวิจัยพบว่า (1)องค์ประกอบการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) ข้อมูลสารสนเทศ  2) การวางแผนการนิเทศงาน 3) การกำกับและติดตาม    4)  การมีส่วนร่วม   5) แรงจูงใจ  6) ความผูกพันต่อองค์การ  7)  เทคนิคการนิเทศงาน  และ 8)  การร่วมกำหนดเป้าหมาย (2)แนวปฏิบัติการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร 1) ด้านข้อมูลสารสนเทศผู้บริหารควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านต่างๆให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสะดวกต่อการนิเทศงาน 2) ด้านการวางแผนการนิเทศงานผู้บริหารควรมีการกำหนดแผนปฏิบัติการนิเทศงานตรงตามความรู้ความสามารถของผู้รับการนิเทศงานเป็นรายบุคคลได้ทุกคนตามเป้าหมาย  3) ด้านการกำกับและติดตามผู้บริหารควรมีการสรุปรวมผลการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงการปฏิบัติงาน  4)  ด้านการมีส่วนร่วมผู้บริหารควรมีการนิเทศงานเป็นการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ   5) ด้านแรงจูงใจผู้บริหารควรมีการสร้างแรงจูงใจโดยใช้หลักการนิเทศงานในการปฏิบัติการนิเทศงาน  6) ด้านความผูกพันต่อองค์การผู้บริหารควรมีการระดมสมองเพื่อนำเอาประสบการณ์ ความรู้ ทักษะของ แต่ละคนมาใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ   7)  ด้านเทคนิคการนิเทศงานผู้บริหารควรมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศก่อน ดำเนินการนิเทศ   และ8)  ด้านการร่วมกำหนดเป้าหมายผู้บริหารควรมีกระบวนการการควบคุม กำกับและติดตามภารกิจหลักของงานด้านการนิเทศงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของงานที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด (3) ผลการยืนยันแนวปฏิบัติการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร   ผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า แนวปฏิบัติการนิเทศงานกรรมการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร     มีความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

Author Biographies

กริษา โพรามาต, มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ว่าที่ พ.ต. ดร.นพดล เจนอักษร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

1. กมล ภู่ประเสริฐ. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : บริษัทเมธีททิปส์จำกัด; 2545.

2. ชารี มณีศรี. การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์; 2538.

3. ธงชัย สันติวงศ์. การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง; 2546.

4. วีระยุทธ ชาตะกาญจณ์. เทคนิคการบริหารสาหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย; 2552.

5. สงัด อุทรานันท์. การนิเทศการศึกษา หลักการทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหาร การศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2530.

6. สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : เอกสารประกอบการสอน วิชาการ นิเทศเชิงวิเคราะห์; 2547.

7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กระบวนการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว;2554.

8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 ( 2555-2559) เล่ม 128 ตอนพิเศษ 152 ง ราชกิจจานุเบกษา; 2554.

9. อัมพร วัฒนนิรันดร์. การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.

10. Allen, Louis A. อ้างถึงใน สงัด อุทรานันท์ .การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม; 2530.

11. Brown, W. and D. Moberg. Organization Theory and Management: A Macroapproach. New York : John Wiley & Sons; 1980.

12. G.F. Madaus, M.S. Scrivien, and D.I. Stufflebeam. Evaluation Education Model Viewpoint on Education and Human Service Evaluation Boston: Kluwer Nijhff; 1983.

13. John T. Lovell, and Kimball Wiles. Supervision for Better School, 5th ed. New Jersey : Prentice-Hall;1983: 261-267.

14. Jame R. Mark and King Stoop. Handbook of Educational Supervision: A Guide of the Pratice 3rd ed. Boston : Allyn and Bacon;1985.

15. Kimball Wiles. Supervision for Better School, 3rd ed. Eglewood Cliffs. New Jersy : Prentice – Hall;1983.

16. Marshall Sashkin and Molly G. Sashkin. Leadership that the matters: The critical factors for making a difference in people’s lives and organizations’ success. Berrett- Koehler Puplishers,Inc. San Francisco;2003.

17. Mooth, A.E. and Ritvo M. Developing the Supervision Skills of the Nurse. New York : McMillan;1986.

18. Peter F Oliva. Supervision for today’s School. 3rd ed. New York: Longman;1989.

19. Thomas J. Sergiovanni and Robert J.Starratt. Supervision A Redefinition, 5th ed. Singapore : McGraw – Hill;1971.

20.William H.Lucio and John D.McNeil. Supervision : A Synthesis of Thought and Action New York : McGraw – Hill;1969.

21.: Harris,Ben M. Supervisory Behavior in Education, Englewood Cliffs, New Jersey Prentice Hall ;1975: 16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)