ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการดำเนินงานสุขศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เจตนิพิฐ สมมาตย์ วิทยาจารย์ปฏิบัติการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • พิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล เภสัชกรชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • คนธ์พงษ์ คนรู้ชินพงศ์ วิทยาจารย์ชำนาญการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน, การดำเนินงานสุขศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการดำเนินงานสุขศึกษา และ (2) ศึกษาเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในรายวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้
          เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Study) โดยมีรูปแบบคือ One Group Posttest Only Design
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ วิธีการจัดการเรียนสอนแบบโครงงาน และ (2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถการดำเนินงานสุขศึกษา และแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อรายวิชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนความสามารถโดยใช้การทดสอบ Wilcoxon Signed Rank test

ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการดำเนินงานสุขศึกษาของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.76 (95% CI: 83.89-85.64) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 100 และ (2) นักศึกษามีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับมาก

           จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสามารถพัฒนาความสามารถในการดำเนินงานสุขศึกษาและส่งเสริมเจตคติที่ดีในการเรียนในรายวิชา จึงควรส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวในรายวิชาอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเป็นการฝึกปฏิบัติ

References

1. เครือข่ายสถาบันวิชาการสาธารณสุข. ประมวลรายวิชาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข;2556.

2. ดุสิต ขาวเหลือง. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม 2554; 7(1):33-45.

3. มารียะห์ มะเซ็ง. ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา]. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2555.

4. มณีวรรณ จิตธรรมมา. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการจัดกิจกรรมการเรียนแบบปกติที่มีต่อการคิดบูรณาการเรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บทความรายงานผลการวิจัย;2551.

5.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2545.

6. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. กระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.);2540.

7. สุภารัตน์ คุ้มบำรุง. การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต;2555.

8. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. 20 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์;2545.

9. สิทธิญา รัสสัยการ. ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร;2551.

10.สิทธิพล อาจอินทร์และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข 2554; 1(1):1-16.

11.อนงลักษณ์ ศรีเวียงราช. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

12. Varkevisser, C.M., Pathmanathan, I., Brownlee, A. Designing and Conducting health systems research projects. Pt. 1, Proposal development and fieldwork (Health systems research training series; v. 2). Ottawa, Ont., IDRC 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)